ทำอย่างไรดี แม่หมูหย่านมไม่ยอมเป็นสัด

    แม่หมูหลังหย่านมไม่เป็นสัด หรือ แม่หมูตกด้าง เป็นปัญหาคลาสสิกที่พบได้เกือบทุกฟาร์ม โดย 80% ของปัญหาเกิดจากความผิดพลาดในการจัดการ ผลที่ตามมา นอกจากจะเสียโอกาสในการผสมแม่หมู ยังสิ้นเปลืองค่าอาหารที่ต้องดูแลแม่หมูที่ไมให้ผลผลิตไปอีกอย่างน้อย 1-2 รอบ (21-42 วัน) หากลองคิดคิดตันทุนเฉพาะในส่วนของค่อาหารสำหรับแม่หมูกลุ่มนี้ โดยยังไม่ร่วมค่าใช้จ่ายอื่นๆ) เราอาจต้องเสียเงินไปเปล่าๆประมาณ 945 – 1,890 บาพ/แม่/1-2 รอบ (ค่าอาหารประมาณ 45 บาท/แม่/วัน) เป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลย แล้วในฟาร์มของเรามีแม่หมูตกด้างอยู่ทั้งหมดกี่แม่? ตกค้างมาแล้วกี่วัน? จะเห็นได้ว่าแม่หมูกลุ่มนี้เป็นกลุ่มของแม่หมูที่เป็นภาระตันทุนของฟาร์มอย่งแท้จริง หากจะทำการคัดทิ้งแม่หมูตกด้างไปเลย เกษตรกรหลายท่าน ก็ยังคงนึกเสียดายเนื่องจากส่วนใหญ่มักเกิดปัญหานี้กับแม่หมูที่ยังใช้งานได้เพียงไม่กี่ท้อง ดังนั้น การป้องกันการเกิดปัญหานี้ในระยาวจึงมีความสำคัญมาก สิ่งแรกที่เราควรต้องรู้ก่อนทำการแก้ปัญหาหรือป้องกันคือ มีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้แม่หมูหลังหย่านมแล้วไม่แสดงอาการสัด และในฟาร์มของเรามีอะไรเป็น สาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้เลือกใช้วิธีในการแก้ไข และป้องกันที่ถูกต้อง และได้ผลแบบยั่งยืน

 

สาเหตุที่แม่หมูหย่านมแล้วไม่เป็นสัด เกิดจากอะไรได้บ้าง?

  1. ความเครียด ปัจจัยต่งๆที่ทำให้เกิดความเครียดของแม่หมู เช่น การทำวัคซีนหรือแพ้วัดชีนในช่วงเลี้ยงลูก อากาศที่ร้อนอบอ้าว คอกเปียกและชื้นแฉะ ล้วนส่งผลต่อสุขภาพ ระดับภูมิคุ้มกันและการกินอาหารของแม่หมูทำให้การกินอาหารลดลง ไม่ได้ตามความต้องการของร่างกายและเป้าที่วางไว้
  2. สุขภาพและคะแนนหุ่นของแม่หมูหลังหย่านม หลายต่อหลายฟาร์มพบว่าแม่หมูหย่าลงลงมาด้วย สภาพร่างกายที่ผอมหรือโทรมมาก(ดังรูปที่ 1) ซึ่งทำให้แม่หมูฟื้นตัวได้ช้ ความสมบูรณ์พันธุ์ลดลง ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้แม่หมูผอมโทรมมาจากการให้อาหารในเล้าคลอดผิดพลาดหรือปริมาณอาหารที่แม่หมู่ได้รับไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และไม่เพียงพอต่อการผลิตน้ำนมเพื่อเลี้ยงลูก ทำให้เกิดการสลาย

    รูปที่ 1 แสดงแม่หมูหลังหย่านมผอมโทรม

    ไขมันสะสมของร่างกายออกมาใช้ แม่หมูกลุ่มนี้มีแนวโน้มจะเสียน้ำหนักตัวหลังหย่านมอยู่แล้ว จึงทำให้สภาพร่างกายโทรม และไม่แสดงอาการเป็นสัดหรือเป็นสัดช้าตามมา ในทางกลับกัน แม่หมูที่อ้วนมาก เช่น มีระดับคะแนนหุ่นมากกว่า 3.5 ในขณะคลอด ก็มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นแม่หมูตกค้างหลังหย่านมได้มาก เช่นกัน การควบคุมคะแนนหุ่นของแม่หมูขึ้นคลอดในฟาร์มจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

  3. ระยะเวลาในการเลี้ยงลูกไม่เหมาะสม ระยะเวลาเลี้ยงลูกของแม่หมูก็มีความสำคัญและส่งผลต่อจำนวนวันหลังหย่านมได้เช่นกัน โดยจากการศึกษาของ Steverink และคณะ ในปี 1999 พบว่า แม่หมูที่มีระยะเลี้ยงลูกที่น้อยกว่า 16 วัน จะยึดระยะหย่านมถึงเป็นสัดนานออกไป เนื่องจากมดลูกยังไม่พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน (มดลูกยังไม่เข้าอู่) และระยะเลี้ยงลูกที่มากกว่า 32 วันขึ้นไป มีแนวโน้มว่า แม่หมูจะแสดงอาการเป็นสัดในเล้าคลอด ทำให้ภายหลังหย่านมอาจแสดงอาการเป็นสัดล่าช้ หรือไม่แสดงอาการเป็นสัดที่ชัดเจน โดยแม่หมูที่แสดงอาการเป็นสัดได้ดีที่สุดเป็นกลุ่มที่มีระยะเวลาเลี้ยงลูกประมาณ 28-31 วัน รองลงมาเป็นกลุ่มที่มีระยะเวลาเลี้ยงลูก 24-17 วัน แสดงดังกราฟที่ 1


    กราฟที่ 1 แสดงระยะเลี้ยงลูกและจำนวนวันหย่านมถึงเป็นสัด

  4. ความผิดพลาดในกระบวนการตรวจสัดหลังหย่านม ปัจจัยนี้เป็นปัญหามากในหลายๆฟาร์ม เกิดได้ทั้งจากตัวผู้ปฏิบัติงานและตัวหมูเอง เช่น ไม่มีการใช้พ่อพันธุ์เข้ากระตุ้นการเป็นสัดในแม่หมูหย่านม กระบวนการตรวจสัดที่ไม่แม่นยำ แสงสว่างในเล้าไม่เพียงพอ หรือ พ่อพันธุ์ที่ใช้ตรวจสัดไม่คึก มีผลทำให้พบแม่หมูที่
    แสดงอาการเป็นสัดที่ลดลง
  5. คอร์ปัสลูเทียม (Corpus luteum) ตกค้าง การตกค้างของคอร์ปัสลูเทียมในหมูเกิดขึ้นได้แต่ไม่บ่อยนัก มักเกิดในแม่หมูที่มีประวัติคลอดยากหรือ รกค้าง โดยคอร์ปัสลูเทียมจะทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการตั้งท้องของแม่หมู โดยปกติจะถูกสลายไปโดยฮอร์โมนพรอสต้าแกรนดิน (Prostaglandin) หลั่งมากขึ้นในช่วงใกล้คลอดและทำให้เกิดกระบวนการคลอด ดังนั้น หากยังมีคอร์ปัสลูเทียมตกค้างอยู่ แม่หมูจะไม่แสดงอาการเป็นสัดเนื่องจากคิดว่าตัวเองยังตั้งท้องอยู่

 

แนวทางการแก้ไขเบื้องต้น

  1. ทำให้แม่หมูเกิดความเครียด การทำให้แม่ตกค้าวเครียดเป็นวิธีการแรกๆที่เกษตรกรเลือกทำ สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การไล่แม่หมูที่ไม่แสดงอาการเป็นสัดมาไว้ในคอกพ่อหมู หรือ นำพ่อหมูไปไว้ยังดอกแม่หมู หรือ นำแม่หมูขึ้นรถละขับไปรอบๆ ฟาร์ม (ที่เรียกกันว่าการแห่หมู) เป็นตัน
  2. ใช้พ่อหมูเดินตรวจสัด เพ้นการตรวจสัดให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นโดยการใช้พ่อพันธุ์ช่วยในการตรวจ 2 รอบ/ครั้ง โดยใช้พ่อหมู 2 ตัว/รอบ (ดินตัวละรอบ)
  3. เพิ่มความละเอียดในการตรวจสัดให้มากขึ้น โดยสังเกตทั้งอาการแม่หมู และใช้การกระตุ้น 5 ขั้นตอน ขณะตรวจสัดร่วมกับใช้พ่อพันธุ์เดินตรวจสัด(เน้นให้จมูกชนจมูก)
  4. รักษาด้วยฮอร์โมนพรอสต้แกรนดิน (Prostaglandin) 1 เข็ม วิธีนี้จะใช้ได้กับการรักษาในกรณีที่เกิดการตกค้างของคอร์ปัสลูเทียมเท่านั้น เพื่อไปสลายคอร์ปัสลูเทียมค้างอยู่ แม่หมูจะแสดงอาการเป็นสัดภายหลังการฉีด 3-5 วัน
  5. พิจารณาคัดทิ้ง หากแม่หมูไม่เป็นแสดงอาการเป็นสัดนานกว่า 2 รอบควร ทำการคัดทิ้ง เนื่องจากสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการดูแล โดยไม่ได้ผลผลิตใดๆเลย ถึงแม้ว่าแม่หมูจะแสดงอาการเป็นสัดในรอบถัดไปก็มีแนวโน้มว่าจะให้ลูกไม่ดกด้วย

 

แนวทางป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ในอนาคต

  1. ลดแม่หมูโทรมหลังหย่านม โดยส่วนใหญ่แม่หมูโทรมจะมีสาเหตุจาก
    • การให้อาหารที่ไม่เพียงพอ จากที่กล่าวในช่วงตัน แม่หมูเลี้ยงลูกมีความต้องการสารอาหารที่มากกว่าหมูระยะอื่นๆ เนื่องจากต้องนำพลังงานที่กินไปใช้ในสร้างน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูกหมู ดังนั้น หลังคลอดเสร็จ กระตุ้นให้แม่หมูให้กินอาหารอย่างเต็มที่ ภายใน 7 วันหลังคลอด ควรกินได้อย่างน้อย 5 -6 กิโลกรัม/ตัว/วัน ยิ่งแม่หมูกินอาหารได้มาก น้ำนมแม่หมูจะยิ่งดี (ดังรูปที่ 2) แม่หมูที่เสียน้ำหนักตัวน้อยหลังหย่านมจะแสดงอาการเป็นสัดได้ดีคว่แม่หมูที่เสียน้ำหนักตัวมากกว่า

      รูปที่ 2 แสดงผลจากการให้อาหารแม่หมูหลังคลอดได้ดี แม่หมูนมดีมาก

    • แม่หมูที่ให้ลูกดก แม่หมูที่ให้ลูกแรกเกิดมีชีวิตมากและต้องเลี้ยงลูกมากกว่า 14 ตัว/แม่ขึ้นไป (ดังรูปที่ 3) มีแนวโน้มว่าจะเสียน้ำหนักตัวหลังหย่านมมากกว่าแม่หมูที่เลี้ยงลูกน้อยกว่า ในฟาร์มที่มีลูกแรกคลอดจำนวนมาก จึงควรมีการจัดการอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อลดภาระการเลี้ยงลูกของแม่หมูชน การย้ายฝากลูกหมูไปไว้กับแม่ตัวอื่นช่วยเลี้ยง หรือเสริมนมละลายน้ำให้กับลูกหมู (ดังรูปที่ 4) เป็นต้น
รูปที่ 3 ลูกดก
รูปที่ 4 การเสริมนมละลาย

 

  1. ปรับระยะเลี้ยงลูกในเล้าคลอดให้เหมาะสม โดยทั่วไประยะเลี้ยงลูกใช้เวลา 25-27 วัน หลังหย่านม แม่หมูจะแสดงอาการเป็นสัดภายใน 5-7 วัน
  2. การดูแลแม่หมูหลังหย่านม ช่วงหลังหย่านมดวรเพิ่มอาหารให้กับแม่หมูได้กินเต็มที่ อย่างน้อย 4-4.5 กิโลกรัมตัว/วัน (ดังรูปที่ 5) เพื่อเร่งการฟื้นตัวหลังหย่นม ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์พันธุ์และกระตุ้นการตกไข่เพิ่มขึ้น แม่หมูแสดงอาการเป็นสัดชัดเจนและยืนนิ่งขณะผสมได้ดี

    รูปที่ 5 การเพิ่มอาหารให้กับแม่หมูหย่านม

  3. เพิ่มความละเอียดการตรวจสัดแม่หมู เกษตรต้องหันมาให้ความสำคัญกับการตรวจสัดหลังหย่านมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด (ดังรูปที่ 6) โดยการสังเกตอาการของแม่หมู เช่น อวัยวะเพศบวมแดง มีเมือกใส ยืนนิ่งและให้ความสนใจกับพ่อพันธุ์เมื่อเดินผ่านขณะตรวจสัด ทำการตรวจสัดวันละ 2 ครั้ง (ช่วงเช้าและเย็น) ทุกวัน ร่วมกับใช้การกระตุ้น 5 ขั้นตอน (ดังรูปที่ 7) ขณะตรวจสัด จะช่วยให้แม่หมูแสดงอาการเป็นสัดและยื่นนิ่งชัดเจนยิ่งขึ้น

    รูปที่ 6 แสดงการตรวจสัดแม่หมู

    รูปที่ 7 แสดงการกระตุ้น 5 ขั้นตอน ขณะตรวจสัดและก่อนผสมเทียม

  4. คุณภาพของพ่อพันธุ์ พ่อพันธุ์ที่ใช้ในการตรวจสัด ควรมีอายุ 1 ปีขึ้นไป และไม่ควรเป็นพ่อแก่ (อายุ 4 ปีขึ้นไป) หลายฟาร์มพลาดในจุดนี้ เนื่องจากมักใช้พ่อพันธุ์ปลดจากการรีดน้ำเชื้อมาใช้ในการตรวจสัด พอพันธุ์ตรวจสัดจะต้องความกำหนัดสูง และมีโปรแกมการรีดน้ำเชื้ออย่างสม่ำเสมอ (ทุกสัปดาห์) เพื่อเพิ่มความกำหนัดและยืดอายุการใช้งาน พ่อพันธุ์ที่ดีจะช่วยกระตุ้นการเป็นสัดในแม่หมู่ได้ดียิ่งขึ้น
  5. ให้ความสำคัญกับคะแนนหุ่น การให้อาหารและปรับหุ่นแม่หมอุ้มท้องมีความสำคัญต่อระบบการผลิตเป็นอย่างมาก แม่หมูจะต้องมีคะแนนหุ่นขึ้นคลอดพอดี (Body Condition Score; BCS = 3.0)(คังรูปที่ 8) แม่หมูที่มีคะแนนหุ่นเหมาะสม เมื่อขึ้นคลอดแม่หมูคลอดง่าย ไม่ต้องล้วงช่วยคลอด ลดการเกิดหนองหรือป่วยหลังคลอด (MMA) ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้แม่หมูป่วย นมแห้ง กินอาหารน้อย หรือไม่กินอาหารในเล้าคลอด ซึ่งจะส่งผลให้สูญเสียไขมันสะสมและโทรมภายหลังหย่านม

    รูปที่ 8 แสดงหุ่นแม่หมูที่พอดีขณะขึ้นคลอด (BCS = 3.0)

  6. จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรือนให้เหมาะสม
    • โรงเรือนอีแวป (EVAP) ต้องตรวจสอบการทำงานของระบบอีแวปเป็นประจำทุกวัน อุดรอยรั่วควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แม่หมูจะต้องอยู่สบาย
    • โรงเรือนเปิด ต้องตรวจสอบการจัดการผ้าม่านให้เหมาะสม และตรวจการทำงานของพัดลมเป็นประจำทุกวัน หากอากาศร้อนอบอ้าวควรอาบน้ำให้แม่หมูเป็นรายตัว การเปิดพัดลมระบายอากาศ จะทำให้แม่หมูเย็นสบาย ไม่หอบ กินอาหารได้ดียิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่า การแก้ญหาแม่หมูหย่านมไม่เป็นสัดไม่ได้ยากอยากที่คิด แต่ต้องอาศัยความเข้าใจของผู้ปฏิบัติงานให้มากขึ้น เช่น ปรับหุ่นแม่หมอุ้มท้องให้พอดีก่อนขึ้นคลอด กระตุ้นแม่หมูหลังคลอดให้กินอาหารอย่างเต็มที่ เพิ่มการดูแลแม่หมูหลังหย่านมและตรวจสัตอย่างละเอียดมากขึ้น ซึ่งวิธีการต่งๆ เหล่านี้ไม่ได้เป็นวิธีการที่แปลกใหม่ แต่หลายฟาร์มก็ยังพบปัญหาแม่หมูไม่เป็นสัดหลังหย่านมอยู่เรื่อยๆจนถือเป็นเรื่องปกติลองกลับมาดูว่าฟาร์มว่าผิดพลาดจุดไหนหรือไม่ ทำการปิดจุดบอดนั้นๆ ก็จะทำให้ได้แม่หมูกลับมาผสมเพิ่มขึ้น ลดแม่หมูกินเปล่าและช่วยประหยัดตันทุนของฟาร์มได้อีกด้วย

 

บทความอื่นๆ
การหลีกเลี่ยง Heat Stress ความเครียดจากร้อนของสุกรในช่วงฤดูร้อน

จากสถิติในปี 2022 กว่า 22 ประเทศทั่วโลกมีอุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียสหรือมากกว่านั้น และในปีนี้มีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะเพิ่มสูงกว่าปีที่ผ่านมา อาจส่งผลให้ปัญหา “heat stress” หรือสภาวะความเครียดจากความร้อนของสุกรจะขยายเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน โดยภาวะนี้จะส่งผลกระทบอย่างมากในสุกรมากกว่าสัตว์ประเภทอื่น ๆ เนื่องจากสุกรไม่มีต่อมเหงื่อจึงไม่สามารถระบายความร้อนส่วนเกินออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตลดลง อัตราการป่วยตายสูงขึ้น อัตราการผสมติดต่ำ การกินอาหารได้ของสุกรลดลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการสูญเสียทางเศรษฐกิจในกลุ่มผู้ผลิตสุกรเป็นอย่างมาก ดังนั้นภาวะความเครียดจากความร้อนเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เราสามารถจัดการและลดผลกระทบจากภาวะความเครียดจากความร้อน (heat stress) ในสุกร ได้ดังนี้ เพิ่มการระบายอากาศและใช้ความเร็วลมภายในโรงเรือนอย่างเหมาะสม การสร้างโรงเรือนแบบปิดและใช้ระบบควบคุมอุณหภูมิด้วยการระเหยน้ำ เช่น การทำความเย็นด้วยการระเหยน้ำที่เกิดจากความเร็วลม การเพิ่มไอน้ำและความชื้นในอากาศภายในโรงเรือน อุปกรณ์ในระบบต้องสะอาดและอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อยู่เสมอ และหากเป็นไปได้ควรใช้น้ำเย็นในระบบ อุณหภูมิ อัตราการระบายอากาศ ความเร็วลม ความชื้นสัมพัทธ์ และปัจจัยอื่น ๆ ควรปรับให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ จัดเตรียมน้ำสะอาดและน้ำเย็นในปริมาณที่เพียงพอ น้ำถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับสุกรและน้ำเย็นจะช่วยลดอุณหภูมิภายในร่างกายได้ โดยสุกรควรกินน้ำให้พอเหมาะกับการบริโภคอาหารเพื่อรักษาปริมาณการกินอาหารในช่วงฤดูร้อน การกินน้ำควรเพียงพอกับความต้องการของสุกรแต่ละอายุและวงรอบการผลิต โดยเฉพาะสุกรช่วงก่อนคลอด ช่วงเลี้ยงลูกรวมถึงช่วงสุกรขุน   สัตว์ ปริมาณน้ำที่ต้องการ (ลิตร/วัน) อัตราการไหลของน้ำ (ลิตร/นาที) แม่เลี้ยงลูก 35-50 4 […]

2 Nov 2023
อัตราการรอดชีวิตที่สูงขึ้น ของสุกรสายพันธุ์ Danbred คือทางรอดของกลุ่มผู้ผลิตสายพันธุ์สุกร

ขณะนี้ผู้ผลิตสุกรทั่วโลกที่ใช้พันธุกรรมของสุกรสายพันธุ์ Danbred สามารถคาดหวังอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรได้สูงขึ้น เป้าหมายล่าสุดในการพัฒนาสายพันธุ์ Danbred คือการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกร ด้วยเริ่มด้วยสายพันธุ์ Duroc กล่าวคือ ในเดือนมกราคม 2023  อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรในฝูงที่ผลิตในเดนมาร์กคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการรอดชีวิตในลูกสุกรเติบโตขึ้นสูงกว่าปีที่แล้ว 0.8% และคาดว่าในเดือนพฤษภาคมจะมีลูกสุกรที่รอดชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 1% “เราได้เห็นผลลัพธ์ของเป้าหมายการปรับปรุงพันธุ์ใหม่อย่างรวดเร็วในกลุ่มพัฒนาสายพันธุ์สุกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายพันธุ์ Duroc  เนื่องจากการปรับปรุงพันธุ์และประสิทธิภาพการผลิตใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน เราจึงคาดว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรจะเริ่มแสดงให้เห็นในการผลิตในช่วงนี้แล้ว” Tage Ostersen หัวหนาแผนกการปรับปรุงสายพันธุ์ และพันธุศาสตร์ของสภาการเกษตรและอาหารแห่งเดนมาร์กกล่าว การเจาะลึก LP5 ที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ปัจจัยของเป้าหมายของการพัฒนาสายพันธุ์ (Breeding Goal) ที่ส่งผลต่อการรอดชีวิตของลูกหมูที่เพิ่มขึ้น คือ LP5 (จำนวนลูกสุกรที่มีชีวิตรอดที่อายุ  5 วัน) ด้วยการมุ่งหน้าพัฒนา LP5 ทำให้ขนาดครอกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ เจ้าของฟาร์มสามารถลดฝูงแม่พันธุ์ลง แต่ให้ผลผลิตหรือจำนวนลูกหย่านมที่เท่าเดิมได้ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 เราได้ปรับปรุงเป้าหมายในการพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อรวมคุณลักษณะใหม่สำหรับการอยู่รอดของลูกสุกร ทำให้ LP5 ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน โดยทาง […]

2 Nov 2023
เพิ่มลูกมีชีวิตได้ด้วยเทคนิคการให้อาหารแม่สุกรที่ถูกวิธี

การให้อาหารแม่สุกรแบบใหม่ที่ถูกวิธีสามารถช่วยเพิ่มลูกมีชีวิตมากขึ้น 1.7% หรือ 0.4 ตัวต่อครอก การให้อาหารแม่สุกรอุ้มท้องจนถึงหลังคลอดอย่างถูกวิธี ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับผลผลิตของฟาร์มสุกรในปัจจุบัน โดยแม่สุกรควรได้รับพลังงานที่เพียงพอสำหรับกระบวนการคลอดและการฟื้นตัวของแม่สุกรหลังคลอดด้วย ซึ่งจากการทดลองล่าสุดจากสถาบัน Aarhus University และ SEGES innovation พบว่าการให้อาหารแม่สุกร ประมาณ  3.3 – 3.8 กิโลกรัมต่อวันในช่วงย้ายแม่สุกรขึ้นคลอด (อย่างน้อย 3 วันก่อนคลอด) จนถึงคลอด สามารถเพิ่มลูกมีชีวิตได้มากขึ้น 1.7%  ยิ่งกินอาหารได้มากขึ้น ยิ่งทำให้ระยะเวลาการคลอดสั้นลง จากการศึกษาที่ผ่านมา จากสถาบัน Aarhus University และSEGES innovation ที่พบว่าไฟเบอร์จากบีทพัลป์ ในอาหารนั้นสำคัญสำหรับแม่สุกรโดยเฉพาะในกระบวนการคลอด วิธีการให้อาหารแบบใหม่ไม่เพียงแต่จะทำให้อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรมีมากขึ้น แต่ยังลดการช่วยคลอดหรือล้วงคลอด  อีกทั้งช่วยฟื้นตัวหลังคลอดได้ดียิ่งขึ้น   Camilla Kaae Højgaard หัวหน้าที่ปรึกษา SEGES Innovation. กล่าวว่า  “ ณ ตอนนี้พวกเราแนะนำว่าควรให้อาหารแม่สุกร ประมาณ  3.3 – 3.8 กิโลกรัมต่อวัน นับตั้งแต่วันที่ย้ายแม่สุกรเข้าเล้าคลอดจนถึงคลอด […]

2 Nov 2023

We use cookies to optimize and enhance the experience of using the website. You can learn more about the use of cookies at Cookie Policy and can choose to consent to the use of cookies. by clicking cookie settings

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for Necessary Cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Necessary Cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website's operation, i.e. cookies that enable the website to perform basic functions and to allow the website to function normally, such as navigating the website pages. or enable visitors/users of the website to log in and access parts of the website that are reserved for members only. The website will not function properly without these cookies being collected. Therefore, you cannot disable these types of cookies through the system of the Company's website. These cookies do not store information that can personally identify you in any way.

Save