หมูรุ่น-ขุนเลี้ยงง่ายใครๆ ก็เลี้ยงได้จริงหรือ?

เกษตรกรส่วนใหญ่มักคิดว่าการเลี้ยงหมูรุ่น-ขุน นั้นเลี้ยงง่ายที่สุดแล้ว แค่ให้อาหารกินๆ ไปเดี๋ยวก็โตแล้วก็ขายได้ แต่หากพิจารณากันอย่างจริงจังแล้วจะพบว่าหมูขุนให้ได้ประสิทธิภาพดีนั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดเลย เนื่องจากจะต้องทำให้หมูที่เลี้ยงโตดี ได้น้ำหนักตามที่ตลาดต้องการ ในขณะที่ต้องทำให้ต้นทุนในการเลี้ยงต่ำที่สุด อีกทั้งยังมีข้อจำกัดของการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งต้องมีระยะหยุดยาก่อนส่งโรงฆ่า แล้วยังมีปัญหาที่มักสร้างความรำคาญใจให้กับเกษตรผู้เลี้ยงหมูขุนเป็นอย่างมากได้แก่ปัญหาเรื่องการท้องเสีย ซึ่งการท้องเสียที่เกิดขึ้นทำให้กินอาหารได้ลดลง สูญเสียน้ำน้ำและแร่ธาตุ ทำให้หมูเกิดอาการขาดน้ำ (Dehydration) ส่งผลให้อัตราการเติบโต (ADG) และอัตราการแลกเนื้อ (FCR) ของฟาร์มแย่ลง มีระยะการเลี้ยงที่นานขึ้น เพิ่มต้นทุนในการรักษา ถึงแม้ส่วนใหญ่การเกิดท้องเสียอาจไม่ทำให้ถึงตายแต่ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก

บิดมูกเลือดและอิลลิไอติส ท้องเสียกวนใจเกษตรกร

โรคบิดมูกเลือด (Swine Dysentery) และอิลลิไอติส (Ileitis) เป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายและกวนใจเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรุ่น- ขุนเป็นอย่างมาก โดยอาการท้องเสียมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย B. hyodysenteriae และ L. intracellularis ตามลำดับ และจากการสำรวจความชุกของ B. hyodysenteriae ของเผด็จและคณะ และการสำรวจความชุกของ L. intracellularis ของระพนาไพรวรรณและคณะ  พบว่าความชุกของเชื้อทั้งสองนี้ในบ้านเรามีมากถึงร้อยละ 47.3 และ 38.05 ตามลำดับ ถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว โดยบิดมูกเลือดมักก่อให้เกิดปัญหาที่ลำไส้ใหญ่ ทำให้มีอาการท้องเสียตั้งแต่ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นมูก ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นสีดำ จนถึงถ่ายเป็นมูกปนเลือด และส่วนอิลลิไอติส มักก่อให้เกิดปัญหาบริเวณลำไส้เล็กส่วนท้าย (Ileum) แต่ในบางครั้งก็ก่อปัญหาในลำไส้ใหญ่ส่วนต้นได้เช่นกัน ทำให้มีอาการตั้งแต่ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ่ายเป็นสีดำหรือถ่ายเป็นเลือด แม้ว่าบิดมูกเลือดและอิลลิไอติส จะก่อให้เกิดปัญหาที่สำไส้ในตำแหน่งที่แตกต่างกัน แต่ผลกระทบที่เกิดจากบิดมูกเลือดและอิลลิไอติสเหมือนกัน คือการกินอาหารลดลง การดูดซึมน้ำและสารอาหารได้ลดลง ส่งผลให้หมูโตช้า ADG ลดลง และ FCR เพิ่มขึ้น และหมูแตกไซส์ เพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงให้นานขึ้น ภูมิคุ้มกันของหมูจะมีแนวโน้มลดลงหรือหมดลง ทำให้ติดเชื้อต่างๆได้ง่ายขึ้น นอกจากภูมิคุ้มกันที่ลดลงแล้วการเลี้ยงหมูไว้ในฟาร์มนานอาจเป็นตัวที่คอยแพร่โรคให้กับหมูภายในฟาร์มโดยเฉพาะในกรณีที่มีระบบการเลี้ยงแบบต่อเนื่อง (continuous) หมูที่ไม่โตตามเกณฑ์ต้องอยู่นานก็จะเป็นตัวที่แพร่เชื้อให้กับหมูที่อายุน้อยกว่าโรงเรือนเดียวกัน ส่วนระบบการเลี้ยงแบบเข้าหมดออกหมด (All in – All out) จะส่งผลให้ไม่สามารถปิดหลังเป็นชุดๆ ได้ ระยะเวลาในการใช้โรงเรือนแต่ละรอบนานขึ้น ฟาร์มสูญเสียโอกาสทำให้ต้องลงหมูรอบใหม่ล่าช้าออกไป

 

แล้วทางออกของปัญหากวนใจเหล่านี้ทำได้อย่างไร?

แน่นอนทางออกที่สามารถง่ายที่สุดคือการใช้ยาปฏิชีวนะผสมในอาหาร ซึ่งการใช้ยาผสมอาหารนี้ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของขนาดยาซึ่งต้องสูงพอที่สามารถกำจัดเชื้อเหล่านี้ได้ ส่งผลทำให้ต่อความน่ากินของอาหารโดยตรง ทำให้หมูกินอาหารได้ลดลงส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลพวงอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ในปัจจุบันแนวโน้มกระแสของการลดการใช้ยาปฏิชีวนะผสมอาหารก็มีมากขึ้น จึงต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะผสมอาหารใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยจะต้องออกฤทธิ์ได้กว้าง อธิบายข้อมูลและกลไกการทำงานได้ชัดเจน และผ่านการทดสอบประสิทธิภาพทั้งในห้องทดลองและสถานการณ์จริงในฟาร์ม

ดิสการ์ด-เอส (DYSGUARD-S) เป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนยาใช้สำหรับป้องกันและควบคุมการเกิดท้องเสียที่เกิดจาก B. hyodysenteriae และ L. intracellularis ทั้งในหมูอนุบาลจนถึงหมูขุน ประกอบไปด้วยสารสกัดจากพืช (Essential oils) หลายชนิด และยังเสริมไลโซไซม์ (Encapsulated Lysozyme) และ Nicotinamide  ซึ่งมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มความน่ากินของอาหารและเพิ่มความสามารถในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ป้องกันและรักษาการเกิดท้องเสีย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย เพิ่ม ADG ลด FCR ลดอัตราการตาย ลดการใช้ยาปฏิชีวนะผสมอาหาร ลดต้นทุนค่ารักษา ไม่ทำให้เกิดเชื้อดื้อยา และที่สำคัญคือไม่ต้องมีระยะหยุดยาก่อนส่งโรงฆ่าจึงสามารถให้ได้ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง

ดิสการ์ด-เอส พิสูจน์แล้วใช้ได้ผลจริง

จากการทดลองในหมูขุนจำนวน 1,213 ตัว โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มที่เสริมดิสการ์ด-เอส (DYSGUARD-S) ทดลองเป็นระยะเวลา 10 วัน พบว่า กลุ่มที่มีการใช้ ดิสการ์ด-เอส (DYSGUARD-S) มีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันมากกว่ากลุ่มควบคุมถึง 10.12% มีจำนวนหมูที่พบอาการท้องเสียและอัตราการตายที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ยังมีค่ารักษาต่อตัวที่น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอีกด้วย

ปัญหาการท้องเสียจากบิดมูกเลือดและอิลลิไอติส เป็นปัญหาที่ซ่อนอยู่ในการเลี้ยงหมูรุ่น-ขุนเกือบทุกฟาร์ม ส่งผลให้หมูโตช้า เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ กำไรของฟาร์มหดหาย และทางออกของปัญหานี้มีหลายวิธีแต่ดิสการ์ด-เอส (DYSGUARD-S) คือทางออกของปัญหาที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ที่ใช้สำหรับแก้ปัญหาท้องเสียในหมูที่เกิดจากบิดมูกเลือดและอิลลิไอติส โดยไม่กระทบต่อการกินของหมู อีกทั้งช่วยเพิ่มความน่ากินของอาหารและเพิ่มความสามารถในการย่อยและดูดซึมสารอาหารอีกด้วย ทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่ม ADG ลด FCR ลดอัตราการตาย และลดต้นทุนค่ายาปฏิชีวนะผสมอาหาร ที่ให้ผลการใช้ที่ยืนยันได้ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องมีระยะหยุดยาก่อนส่งโรงฆ่า แต่อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาเรื่องการท้องเสีย ต้องทำควบคู่ไปกับการจัดการต่างๆภายในฟาร์ม เพื่อป้องกันการเข้ามาของเชื้อ โรงเรือนและสิ่งแวดล้อมที่ดี  มีการจัดการด้านอาหารและน้ำที่เหมาะสม และเลี้ยงโดยปราศจากความเครียด เพื่อให้แก้ปัญหานี้ประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

 

บทความอื่นๆ
การหลีกเลี่ยง Heat Stress ความเครียดจากร้อนของสุกรในช่วงฤดูร้อน

จากสถิติในปี 2022 กว่า 22 ประเทศทั่วโลกมีอุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียสหรือมากกว่านั้น และในปีนี้มีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะเพิ่มสูงกว่าปีที่ผ่านมา อาจส่งผลให้ปัญหา “heat stress” หรือสภาวะความเครียดจากความร้อนของสุกรจะขยายเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน โดยภาวะนี้จะส่งผลกระทบอย่างมากในสุกรมากกว่าสัตว์ประเภทอื่น ๆ เนื่องจากสุกรไม่มีต่อมเหงื่อจึงไม่สามารถระบายความร้อนส่วนเกินออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตลดลง อัตราการป่วยตายสูงขึ้น อัตราการผสมติดต่ำ การกินอาหารได้ของสุกรลดลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการสูญเสียทางเศรษฐกิจในกลุ่มผู้ผลิตสุกรเป็นอย่างมาก ดังนั้นภาวะความเครียดจากความร้อนเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เราสามารถจัดการและลดผลกระทบจากภาวะความเครียดจากความร้อน (heat stress) ในสุกร ได้ดังนี้ เพิ่มการระบายอากาศและใช้ความเร็วลมภายในโรงเรือนอย่างเหมาะสม การสร้างโรงเรือนแบบปิดและใช้ระบบควบคุมอุณหภูมิด้วยการระเหยน้ำ เช่น การทำความเย็นด้วยการระเหยน้ำที่เกิดจากความเร็วลม การเพิ่มไอน้ำและความชื้นในอากาศภายในโรงเรือน อุปกรณ์ในระบบต้องสะอาดและอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อยู่เสมอ และหากเป็นไปได้ควรใช้น้ำเย็นในระบบ อุณหภูมิ อัตราการระบายอากาศ ความเร็วลม ความชื้นสัมพัทธ์ และปัจจัยอื่น ๆ ควรปรับให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ จัดเตรียมน้ำสะอาดและน้ำเย็นในปริมาณที่เพียงพอ น้ำถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับสุกรและน้ำเย็นจะช่วยลดอุณหภูมิภายในร่างกายได้ โดยสุกรควรกินน้ำให้พอเหมาะกับการบริโภคอาหารเพื่อรักษาปริมาณการกินอาหารในช่วงฤดูร้อน การกินน้ำควรเพียงพอกับความต้องการของสุกรแต่ละอายุและวงรอบการผลิต โดยเฉพาะสุกรช่วงก่อนคลอด ช่วงเลี้ยงลูกรวมถึงช่วงสุกรขุน   สัตว์ ปริมาณน้ำที่ต้องการ (ลิตร/วัน) อัตราการไหลของน้ำ (ลิตร/นาที) แม่เลี้ยงลูก 35-50 4 […]

2 Nov 2023
อัตราการรอดชีวิตที่สูงขึ้น ของสุกรสายพันธุ์ Danbred คือทางรอดของกลุ่มผู้ผลิตสายพันธุ์สุกร

ขณะนี้ผู้ผลิตสุกรทั่วโลกที่ใช้พันธุกรรมของสุกรสายพันธุ์ Danbred สามารถคาดหวังอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรได้สูงขึ้น เป้าหมายล่าสุดในการพัฒนาสายพันธุ์ Danbred คือการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกร ด้วยเริ่มด้วยสายพันธุ์ Duroc กล่าวคือ ในเดือนมกราคม 2023  อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรในฝูงที่ผลิตในเดนมาร์กคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการรอดชีวิตในลูกสุกรเติบโตขึ้นสูงกว่าปีที่แล้ว 0.8% และคาดว่าในเดือนพฤษภาคมจะมีลูกสุกรที่รอดชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 1% “เราได้เห็นผลลัพธ์ของเป้าหมายการปรับปรุงพันธุ์ใหม่อย่างรวดเร็วในกลุ่มพัฒนาสายพันธุ์สุกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายพันธุ์ Duroc  เนื่องจากการปรับปรุงพันธุ์และประสิทธิภาพการผลิตใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน เราจึงคาดว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรจะเริ่มแสดงให้เห็นในการผลิตในช่วงนี้แล้ว” Tage Ostersen หัวหนาแผนกการปรับปรุงสายพันธุ์ และพันธุศาสตร์ของสภาการเกษตรและอาหารแห่งเดนมาร์กกล่าว การเจาะลึก LP5 ที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ปัจจัยของเป้าหมายของการพัฒนาสายพันธุ์ (Breeding Goal) ที่ส่งผลต่อการรอดชีวิตของลูกหมูที่เพิ่มขึ้น คือ LP5 (จำนวนลูกสุกรที่มีชีวิตรอดที่อายุ  5 วัน) ด้วยการมุ่งหน้าพัฒนา LP5 ทำให้ขนาดครอกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ เจ้าของฟาร์มสามารถลดฝูงแม่พันธุ์ลง แต่ให้ผลผลิตหรือจำนวนลูกหย่านมที่เท่าเดิมได้ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 เราได้ปรับปรุงเป้าหมายในการพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อรวมคุณลักษณะใหม่สำหรับการอยู่รอดของลูกสุกร ทำให้ LP5 ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน โดยทาง […]

2 Nov 2023
เพิ่มลูกมีชีวิตได้ด้วยเทคนิคการให้อาหารแม่สุกรที่ถูกวิธี

การให้อาหารแม่สุกรแบบใหม่ที่ถูกวิธีสามารถช่วยเพิ่มลูกมีชีวิตมากขึ้น 1.7% หรือ 0.4 ตัวต่อครอก การให้อาหารแม่สุกรอุ้มท้องจนถึงหลังคลอดอย่างถูกวิธี ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับผลผลิตของฟาร์มสุกรในปัจจุบัน โดยแม่สุกรควรได้รับพลังงานที่เพียงพอสำหรับกระบวนการคลอดและการฟื้นตัวของแม่สุกรหลังคลอดด้วย ซึ่งจากการทดลองล่าสุดจากสถาบัน Aarhus University และ SEGES innovation พบว่าการให้อาหารแม่สุกร ประมาณ  3.3 – 3.8 กิโลกรัมต่อวันในช่วงย้ายแม่สุกรขึ้นคลอด (อย่างน้อย 3 วันก่อนคลอด) จนถึงคลอด สามารถเพิ่มลูกมีชีวิตได้มากขึ้น 1.7%  ยิ่งกินอาหารได้มากขึ้น ยิ่งทำให้ระยะเวลาการคลอดสั้นลง จากการศึกษาที่ผ่านมา จากสถาบัน Aarhus University และSEGES innovation ที่พบว่าไฟเบอร์จากบีทพัลป์ ในอาหารนั้นสำคัญสำหรับแม่สุกรโดยเฉพาะในกระบวนการคลอด วิธีการให้อาหารแบบใหม่ไม่เพียงแต่จะทำให้อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรมีมากขึ้น แต่ยังลดการช่วยคลอดหรือล้วงคลอด  อีกทั้งช่วยฟื้นตัวหลังคลอดได้ดียิ่งขึ้น   Camilla Kaae Højgaard หัวหน้าที่ปรึกษา SEGES Innovation. กล่าวว่า  “ ณ ตอนนี้พวกเราแนะนำว่าควรให้อาหารแม่สุกร ประมาณ  3.3 – 3.8 กิโลกรัมต่อวัน นับตั้งแต่วันที่ย้ายแม่สุกรเข้าเล้าคลอดจนถึงคลอด […]

2 Nov 2023

We use cookies to optimize and enhance the experience of using the website. You can learn more about the use of cookies at Cookie Policy and can choose to consent to the use of cookies. by clicking cookie settings

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for Necessary Cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Necessary Cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website's operation, i.e. cookies that enable the website to perform basic functions and to allow the website to function normally, such as navigating the website pages. or enable visitors/users of the website to log in and access parts of the website that are reserved for members only. The website will not function properly without these cookies being collected. Therefore, you cannot disable these types of cookies through the system of the Company's website. These cookies do not store information that can personally identify you in any way.

Save