เพิ่มจำนวนลูกสุกรหย่านม ด้วย “การย้ายฝาก”

การเลี้ยงสุกรในปัจจุบันมีการปรับปรุงสายพันธุ์และพัฒนาเทคนิคการจัดการต่งๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงที่สุด ผลจากกระบวนการปรับปรุงสายพันธุ์คือขนาดครอกที่ใหญ่ขึ้น โดยฉพาะสุกรเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ถูกยอมรับโดยทั่วกันว่าเป็นสายพันธุ์ที่ให้ลูกดกที่สุด ซึ่งเมื่อเกษตกรนำมาเลี้ยง หรือใช้ปรับปรุงสายพันธุ์ของตนเอง มักประสบปัญหาเดียวกันคือ ไม่สามารถก็บลูกในโรงเรือนคลอดไว้ได้เนื่องจากลูกแรกเกิดมีจำนวนมากกว่าจำนวนเต้านมของแม่ (โดยปกติมากกว่า 14 ตัว) และลูกสุกรเองก็มีพฤติกรรมจองเต้านมภายใน 2 วันแรก ทำให้ลูกที่ตัวเล็กหรืออ่อนแอที่สุดไม่สามารถต่อสู้และจับจองเต้านมได้ทัน ทำให้เกิดการสูญเสียจากการขาดอาหารตายไปในที่สุด กล่าวคือหลายๆ ฟาร์มเมื่อได้ลูกมาก อัตราการตายก่อนหย่านมในโรงเรือนคลอดก็ยิ่งสูงตามมา ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาเทคนิคการจัดการต่างๆ ขึ้นมารองรับขนาดครอกที่ใหญ่ขึ้น เพื่อลดอัตราการตายก่อนหย่านมหนึ่งในวิธีการจัดการทั่วไปที่ฟาร์มสุกรใช้เมื่อเผชิญปัญหาขนาดครอกใหญ่และขนาดลูกแรกคลอดที่แตกต่างกันคือ การย้ายฝากลูกสุกร ซึ่งเป็นการจัดการที่สามารถปรับให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น กระจายให้แม่แต่ละตัวเลี้ยงลูกเท่าๆ กัน จัดขนาดลูกสุกรในแต่ละครอกให้มีขนาดเท่ากัน เพื่อให้ลูกตัวเล็กได้มีโอกาสกินนมได้เท่ๆกัน การเลือกลูกที่ไม่แข็งแรงมาดูแลพิเศษ หรือย้ายฝากไปยังแม่นม (ดังรูปที่ 1)

การเลือกใช้แม่นมเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ถูกนำมาใช้รับมือกับปัญหาขนาดครอกใหญ่ วิธีนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศเดนมาร์กและประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีโปรแกรมการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์สุกรเพื่อให้ได้ลูกสุกรที่มีขนาดครอกใหญ่ อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ยังไม่ถูกนำไปปฏิบัติอย่างแพร่หลายในประเทศอื่นๆ โดยเทคนิคการใช้แม่นมแบ่งเป็น 2 รูปแบบหลักคือ การใช้แม่นมแบบ 1 ขั้นตอน (One-step nurse sow) และแบบ 2 ขั้นตอน (two-step nurse sow) (ดังรูปที่ 2)

 

รูปที่ 1 การย้ายฝากลูกสุกรเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ

  การจัดการโดยใช้แม่นมแบบ 1 ขั้นตอน ทำโดยการหย่านมลูกสุกรที่มีอายุอย่างน้อย 21 วันจากแม่สุกรที่ถูกเลือกมาเป็นแม่นม จากนั้นย้ายฝากลูกสุกรที่มีจำนวนมากเกินไปจากแม่สุกรที่คลอดใหม่ (ซึ่งการย้ายจะทำหลังจากปล่อยให้ลูกสุกรเกิดใหได้รันมน้ำเหลื่องจากแม่ของมันเองอย่างน้อย 6-12 ชั่วโม)มายังแม่นมและแม่นมจะเลี้ยงไปจนกระทั่งลูกสุกรชุดนี้หย่านม

 

รูปที่ 2 แสดงเทคนิคการใช้แม่นมแบบ 1 ขั้นตอนและ 2 ขั้นตอน

  การจัดการโดยใช้แม่นมแบบ 2 ขั้นตอน หรือบางครั้งถูกเรียกว่า การย้ายฝากแบบลำดับขั้น (Cascade fostering) โดยวิธีการนี้เกี่ยวข้องกับการใช้แม่นม 2 ตัว โดยขั้นตอนแรกจะต้องคัดเลือกแม่นุมตัวที่ 1 (intermediate nurse sow หรือ interim sow) จากแม่สุกรที่ลูกกำลังจะหย่านม (อายุ 21-28 วัน) และขั้นตอนต่อมาเลือกแม่นมตัวที่ 2 (Two-step nurse sow หรือ second nurse sow) ซึ่งกำลังเลี้ยงลูก 4-7 วัน ลูกของแม่นมตัวที่ 2 จะถูกย้ายให้แม่นมตัวที่ 1 เลี้ยงจนกระทั่งหย่านม ส่วนแม่สุกรตัวที่ 2 จะถูกย้ยไปเป็นแม่นมให้กับลูกสุกรเกิดใหม่ที่มีจำนวนมากเกินไปจากแม่สุกรที่คลอดใหม่

ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา Flemming Thorup ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการผลิตของโรงเรือนคลอดโดยเป็นการเปรียบเทียบระหว่างไม่มีการใช้แม่นม ใช้แม่นมแบบ 1 ขั้นตอนและแบบ 2 ขั้นตอน พบว่า การใช้แม่นมแบบ 1 ขั้นตอน และแบบ 2 ขั้นตอนให้อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรที่ 82% และ 94% ตามลำดับและน้ำหนักหย่านม 5.5 กิโลกรัมและ 6.4 กิโลกรัม ตามลำดับ ผลดังตารางที่ 1

อีกทั้งการกตลองนี้ได้มีการเปรียบเทียบระหว่างลูกสุกรที่ถูกเลี้ยงโดยแม่ของมันเองและแม่นมแบบ 2 ขั้นตอน ซึ่งพบว่าให้อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรที่ไม่แตกต่งกันคือ 94% และน้ำหนักหย่านมของลูกที่ถูกเลี้ยงโดยแม่ของมันเองและแม่นมแบบ 2 ขั้นตอนที่ 63 กิโลกรัมและ 64 กิโลกรัม ตามลำดับ ดังตารางที่ 2

การทดลองนี้ยังได้ศึกษาต่อเนื่องไปถึงผลกระทบต่ออัตราการเข้าคลอดและจำนวนลูกทั้งหมดในรอบการผลิตต่อไปในแม่สุกรที่เลี้ยงลูกและหย่านมตามปกติ (กลุ่มควบคุม) และแม่สุกรที่กลายเป็นแม่นม หลังจากเลี้ยงลูกได้ 21 วัน โดยพบว่าจะมีอัตราการเข้าคลอดที่ 92% และ 83% ตามลำดับ และมีจำนวนลูกทั้งหมด 15.1 ตัวและ 17.1 ตัว ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3)

นอกจากนี้ดมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างแม่สุกรกลุ่มควบคุม และแม่สุกรที่กลายเป็นแม่นมหลังจากเลี้ยงลูกได้ 7 วัน พบว่าจะมีอัตราการเข้าคลอดที่ 100% และ 94% ตามลำดับและมีจำนวนลูกทั้งหมด 13.9 ตัวและ 14.2 ตัว ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4)

จากผลการศึกษาของ Flemming Thorup ได้ข้อสรุปว่า การใช้แม่นมแบบ 2 ขั้นตอนให้อัตราการรอดชีวิตและน้ำหนักหย่านมของลูกสุกรที่สูงกว่าการใช้แม่นมแบบ 1 ชั้นตอน การย้ายฝากลูกสุกรไปยังแม่นมแบบ 2 ขั้นตอนไม่มีความแตกต่างในด้านของอัตราการรอดชีวิตและน้ำหนักหย่านมเมื่อเปรียบเทียบกับลูกสุกรที่เลี้ยงโดยแม่ของพวกมันเอง และสุกรที่ถูกนำมาใช้ป็นแม่นมหลังจากเลี้ยงลูกไปแล้ว 21 วันให้อัตราการเข้าคลอดที่ต่ำกว่าแต่ให้จำนวนลูกทั้งหมดมากกวสุกรกลุ่มควบคุม ส่วนสุกรที่ถูกนำมาใช้เป็นแม่นมหลังจากเสี้ยงลูกไปแล้ว 7 วันไม่มีความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับสุกรกลุ่มควบคุม

ทั้งนี้การคัดเลือกสุกรที่เหมาะสมที่จะเป็นแม่นมควรพิจารณาจากลักษณะดังนี้

  1. แม่สุกรลำดับท้องที่ 1 หรือ 2 เนื่องจากแม่สุกรสาวมักจะยอมรับลูกสุกรย้ายฝากได้ง่ายกว่าแม่สุกรที่อายุมาก และแม่สุกรสาวจะมีขนาดหัวนมที่เล็กง่ายต่อการดูดนมของลูกสุกร
  2. แม่สุกรที่เลี้ยงลูก 4-7 วันเหมาะสมที่จะเป็นแม่นมลำดับที่ 2 (จะถูกนำไปเลี้ยงลูกย้ายฝากอายุ 1 วัน) เพราะ จะย่อมรับลูกสุกรย้ายฝากได้ง่ายกว่แม่สุกรที่เลี้ยงลูกมานานและปริมาณนมที่ผลิตได้ก็ไม่มากเกินความต้องการของลูกสุกร
  3. แม่สุกรมีจำนวนเต้านมที่สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอกับจำนวนลูกที่ย้ายฝาก และการย้ายฝากลูกชุดใหม่จะต้องมีจำนวนไม่มากกว่จำนวนลูกที่แม่สุกรตัวนั้นเลี้ยงก่อนหน้า
  4. แม่สุกรมีสุขภาพแข็งแรง กินอาหารเก่งและมีรูปร่างที่ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไปเพื่อที่จะสามารถยืดระยะเวลาที่ต้องให้นมได้นานขึ้น
  5. แม่สุกรมีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกของตนเองได้ดี

เทคนิคการใช้แม่นมแบบ 2 ขั้นตอนเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรก่อนหย่านมนั้นประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาขนาดครอกที่มีจำนวนลูกสุกรมากกว่าเต้านมของแม่ โดยถูกใช้อย่างแพร่หลายในประเทศเดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งงานศึกษาวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าการใช้แม่นมแบบ 2 ขั้นตอนให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้แม่นมแบบขั้นตอนเดียวซึ่งเป็นวิธีการที่ไช้ทั่ไปในขณะนี้ และแม่สุกรที่ถูกนำมาเป็นแม่นมไม่ได้ให้ประสิทธิภาพที่ด้อยกว่าแม่สุกรที่เลี้ยงลูกและหย่านมตามปกติ อีกทั้งการนำสุกรมาเป็นแม่นมลำดับที่ 2 ไม่ได้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตในรอบถัดไป ส่วนแม่สุกรที่นำมาเป็นแม่นมลำดับที่ 1 แม้ว่าจะมีอัตราการเข้าคลอตลดลง แต่ขนาดครอกจะใหญ่ขึ้นในรอบการผลิตถัดไป ดังนั้นเทคนิคการใช้แม่นมแบบ 2 ขั้นตอนจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะสามารถเพิ่มผลผลิตให้แก่อุตสาหกรรมการผลิตสุกรในประเทศไทยได้

 

ด้วยความปรารถนาดี
หมอแอน
ทีมวิชาการ “ลูกเจี๊ยบ” แอมโก้เวท

เอกสารอ้างอิง
1. Two-step nurse sow, Danish Pig Production, April 2008
2. H9-Nurse sows, Guildlines for farrowing facilities, August 2010
3. Nurse sows for supernumerous piglets, Danish Pig Research Centre, Flemming Thorup
4. A 2-step nurse sow strategy, Pig Progress, Vivi Aarestrup Moustsen, January 2016
5. The welfare implications of large litter size in the domestic pig ll: management factors, Edinburgh Research Explorer, Baxter EM, Rutherford
KMD, D’Eath RB, Arnott G, Turner SP, Sandoe P, Moustsen VA, Thorup F, Edwards SA and Lawrence AB, 2013

เราใช้คุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใข้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุ้กกี้ได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และ สามารถเลือกตั้งค่ายินยอมการใช้คุ้กกี้ ได้โดยการคลิก การตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐานและช่วยให้การทำงานของเว็บไซต์ทำงานได้เป็นปกติ เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์เข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น โดยเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้ ดังนั้น ท่านไม่สามารถปิดการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซต์ของบริษัทได้ ทั้งนี้คุกกี้ประเภทนี้ไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลซึ่งสามารถระบุตัวตนของท่านได้อย่างเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด

  • คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้อาจถูกติดตั้งโดยพันธมิตรทางการตลาดผ่านทางเว็บไซต์ของเรา โดยจะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่านว่า ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง บริษัทใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น บริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้แก่บุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์เหล่านี้ด้วย หากท่านไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านจะได้รับการโฆษณาที่เฉพาะเจาะจงน้อยลง

บันทึก