เพิ่มจำนวนลูกสุกรหย่านม ด้วย “การย้ายฝาก”

การเลี้ยงสุกรในปัจจุบันมีการปรับปรุงสายพันธุ์และพัฒนาเทคนิคการจัดการต่งๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงที่สุด ผลจากกระบวนการปรับปรุงสายพันธุ์คือขนาดครอกที่ใหญ่ขึ้น โดยฉพาะสุกรเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ถูกยอมรับโดยทั่วกันว่าเป็นสายพันธุ์ที่ให้ลูกดกที่สุด ซึ่งเมื่อเกษตกรนำมาเลี้ยง หรือใช้ปรับปรุงสายพันธุ์ของตนเอง มักประสบปัญหาเดียวกันคือ ไม่สามารถก็บลูกในโรงเรือนคลอดไว้ได้เนื่องจากลูกแรกเกิดมีจำนวนมากกว่าจำนวนเต้านมของแม่ (โดยปกติมากกว่า 14 ตัว) และลูกสุกรเองก็มีพฤติกรรมจองเต้านมภายใน 2 วันแรก ทำให้ลูกที่ตัวเล็กหรืออ่อนแอที่สุดไม่สามารถต่อสู้และจับจองเต้านมได้ทัน ทำให้เกิดการสูญเสียจากการขาดอาหารตายไปในที่สุด กล่าวคือหลายๆ ฟาร์มเมื่อได้ลูกมาก อัตราการตายก่อนหย่านมในโรงเรือนคลอดก็ยิ่งสูงตามมา ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาเทคนิคการจัดการต่างๆ ขึ้นมารองรับขนาดครอกที่ใหญ่ขึ้น เพื่อลดอัตราการตายก่อนหย่านมหนึ่งในวิธีการจัดการทั่วไปที่ฟาร์มสุกรใช้เมื่อเผชิญปัญหาขนาดครอกใหญ่และขนาดลูกแรกคลอดที่แตกต่างกันคือ การย้ายฝากลูกสุกร ซึ่งเป็นการจัดการที่สามารถปรับให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น กระจายให้แม่แต่ละตัวเลี้ยงลูกเท่าๆ กัน จัดขนาดลูกสุกรในแต่ละครอกให้มีขนาดเท่ากัน เพื่อให้ลูกตัวเล็กได้มีโอกาสกินนมได้เท่ๆกัน การเลือกลูกที่ไม่แข็งแรงมาดูแลพิเศษ หรือย้ายฝากไปยังแม่นม (ดังรูปที่ 1)

การเลือกใช้แม่นมเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ถูกนำมาใช้รับมือกับปัญหาขนาดครอกใหญ่ วิธีนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศเดนมาร์กและประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีโปรแกรมการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์สุกรเพื่อให้ได้ลูกสุกรที่มีขนาดครอกใหญ่ อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ยังไม่ถูกนำไปปฏิบัติอย่างแพร่หลายในประเทศอื่นๆ โดยเทคนิคการใช้แม่นมแบ่งเป็น 2 รูปแบบหลักคือ การใช้แม่นมแบบ 1 ขั้นตอน (One-step nurse sow) และแบบ 2 ขั้นตอน (two-step nurse sow) (ดังรูปที่ 2)

 

รูปที่ 1 การย้ายฝากลูกสุกรเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ

  การจัดการโดยใช้แม่นมแบบ 1 ขั้นตอน ทำโดยการหย่านมลูกสุกรที่มีอายุอย่างน้อย 21 วันจากแม่สุกรที่ถูกเลือกมาเป็นแม่นม จากนั้นย้ายฝากลูกสุกรที่มีจำนวนมากเกินไปจากแม่สุกรที่คลอดใหม่ (ซึ่งการย้ายจะทำหลังจากปล่อยให้ลูกสุกรเกิดใหได้รันมน้ำเหลื่องจากแม่ของมันเองอย่างน้อย 6-12 ชั่วโม)มายังแม่นมและแม่นมจะเลี้ยงไปจนกระทั่งลูกสุกรชุดนี้หย่านม

 

รูปที่ 2 แสดงเทคนิคการใช้แม่นมแบบ 1 ขั้นตอนและ 2 ขั้นตอน

  การจัดการโดยใช้แม่นมแบบ 2 ขั้นตอน หรือบางครั้งถูกเรียกว่า การย้ายฝากแบบลำดับขั้น (Cascade fostering) โดยวิธีการนี้เกี่ยวข้องกับการใช้แม่นม 2 ตัว โดยขั้นตอนแรกจะต้องคัดเลือกแม่นุมตัวที่ 1 (intermediate nurse sow หรือ interim sow) จากแม่สุกรที่ลูกกำลังจะหย่านม (อายุ 21-28 วัน) และขั้นตอนต่อมาเลือกแม่นมตัวที่ 2 (Two-step nurse sow หรือ second nurse sow) ซึ่งกำลังเลี้ยงลูก 4-7 วัน ลูกของแม่นมตัวที่ 2 จะถูกย้ายให้แม่นมตัวที่ 1 เลี้ยงจนกระทั่งหย่านม ส่วนแม่สุกรตัวที่ 2 จะถูกย้ยไปเป็นแม่นมให้กับลูกสุกรเกิดใหม่ที่มีจำนวนมากเกินไปจากแม่สุกรที่คลอดใหม่

ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา Flemming Thorup ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการผลิตของโรงเรือนคลอดโดยเป็นการเปรียบเทียบระหว่างไม่มีการใช้แม่นม ใช้แม่นมแบบ 1 ขั้นตอนและแบบ 2 ขั้นตอน พบว่า การใช้แม่นมแบบ 1 ขั้นตอน และแบบ 2 ขั้นตอนให้อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรที่ 82% และ 94% ตามลำดับและน้ำหนักหย่านม 5.5 กิโลกรัมและ 6.4 กิโลกรัม ตามลำดับ ผลดังตารางที่ 1

อีกทั้งการกตลองนี้ได้มีการเปรียบเทียบระหว่างลูกสุกรที่ถูกเลี้ยงโดยแม่ของมันเองและแม่นมแบบ 2 ขั้นตอน ซึ่งพบว่าให้อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรที่ไม่แตกต่งกันคือ 94% และน้ำหนักหย่านมของลูกที่ถูกเลี้ยงโดยแม่ของมันเองและแม่นมแบบ 2 ขั้นตอนที่ 63 กิโลกรัมและ 64 กิโลกรัม ตามลำดับ ดังตารางที่ 2

การทดลองนี้ยังได้ศึกษาต่อเนื่องไปถึงผลกระทบต่ออัตราการเข้าคลอดและจำนวนลูกทั้งหมดในรอบการผลิตต่อไปในแม่สุกรที่เลี้ยงลูกและหย่านมตามปกติ (กลุ่มควบคุม) และแม่สุกรที่กลายเป็นแม่นม หลังจากเลี้ยงลูกได้ 21 วัน โดยพบว่าจะมีอัตราการเข้าคลอดที่ 92% และ 83% ตามลำดับ และมีจำนวนลูกทั้งหมด 15.1 ตัวและ 17.1 ตัว ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3)

นอกจากนี้ดมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างแม่สุกรกลุ่มควบคุม และแม่สุกรที่กลายเป็นแม่นมหลังจากเลี้ยงลูกได้ 7 วัน พบว่าจะมีอัตราการเข้าคลอดที่ 100% และ 94% ตามลำดับและมีจำนวนลูกทั้งหมด 13.9 ตัวและ 14.2 ตัว ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4)

จากผลการศึกษาของ Flemming Thorup ได้ข้อสรุปว่า การใช้แม่นมแบบ 2 ขั้นตอนให้อัตราการรอดชีวิตและน้ำหนักหย่านมของลูกสุกรที่สูงกว่าการใช้แม่นมแบบ 1 ชั้นตอน การย้ายฝากลูกสุกรไปยังแม่นมแบบ 2 ขั้นตอนไม่มีความแตกต่างในด้านของอัตราการรอดชีวิตและน้ำหนักหย่านมเมื่อเปรียบเทียบกับลูกสุกรที่เลี้ยงโดยแม่ของพวกมันเอง และสุกรที่ถูกนำมาใช้ป็นแม่นมหลังจากเลี้ยงลูกไปแล้ว 21 วันให้อัตราการเข้าคลอดที่ต่ำกว่าแต่ให้จำนวนลูกทั้งหมดมากกวสุกรกลุ่มควบคุม ส่วนสุกรที่ถูกนำมาใช้เป็นแม่นมหลังจากเสี้ยงลูกไปแล้ว 7 วันไม่มีความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับสุกรกลุ่มควบคุม

ทั้งนี้การคัดเลือกสุกรที่เหมาะสมที่จะเป็นแม่นมควรพิจารณาจากลักษณะดังนี้

  1. แม่สุกรลำดับท้องที่ 1 หรือ 2 เนื่องจากแม่สุกรสาวมักจะยอมรับลูกสุกรย้ายฝากได้ง่ายกว่าแม่สุกรที่อายุมาก และแม่สุกรสาวจะมีขนาดหัวนมที่เล็กง่ายต่อการดูดนมของลูกสุกร
  2. แม่สุกรที่เลี้ยงลูก 4-7 วันเหมาะสมที่จะเป็นแม่นมลำดับที่ 2 (จะถูกนำไปเลี้ยงลูกย้ายฝากอายุ 1 วัน) เพราะ จะย่อมรับลูกสุกรย้ายฝากได้ง่ายกว่แม่สุกรที่เลี้ยงลูกมานานและปริมาณนมที่ผลิตได้ก็ไม่มากเกินความต้องการของลูกสุกร
  3. แม่สุกรมีจำนวนเต้านมที่สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอกับจำนวนลูกที่ย้ายฝาก และการย้ายฝากลูกชุดใหม่จะต้องมีจำนวนไม่มากกว่จำนวนลูกที่แม่สุกรตัวนั้นเลี้ยงก่อนหน้า
  4. แม่สุกรมีสุขภาพแข็งแรง กินอาหารเก่งและมีรูปร่างที่ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไปเพื่อที่จะสามารถยืดระยะเวลาที่ต้องให้นมได้นานขึ้น
  5. แม่สุกรมีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกของตนเองได้ดี

เทคนิคการใช้แม่นมแบบ 2 ขั้นตอนเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรก่อนหย่านมนั้นประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาขนาดครอกที่มีจำนวนลูกสุกรมากกว่าเต้านมของแม่ โดยถูกใช้อย่างแพร่หลายในประเทศเดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งงานศึกษาวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าการใช้แม่นมแบบ 2 ขั้นตอนให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้แม่นมแบบขั้นตอนเดียวซึ่งเป็นวิธีการที่ไช้ทั่ไปในขณะนี้ และแม่สุกรที่ถูกนำมาเป็นแม่นมไม่ได้ให้ประสิทธิภาพที่ด้อยกว่าแม่สุกรที่เลี้ยงลูกและหย่านมตามปกติ อีกทั้งการนำสุกรมาเป็นแม่นมลำดับที่ 2 ไม่ได้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตในรอบถัดไป ส่วนแม่สุกรที่นำมาเป็นแม่นมลำดับที่ 1 แม้ว่าจะมีอัตราการเข้าคลอตลดลง แต่ขนาดครอกจะใหญ่ขึ้นในรอบการผลิตถัดไป ดังนั้นเทคนิคการใช้แม่นมแบบ 2 ขั้นตอนจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะสามารถเพิ่มผลผลิตให้แก่อุตสาหกรรมการผลิตสุกรในประเทศไทยได้

 

ด้วยความปรารถนาดี
หมอแอน
ทีมวิชาการ “ลูกเจี๊ยบ” แอมโก้เวท

เอกสารอ้างอิง
1. Two-step nurse sow, Danish Pig Production, April 2008
2. H9-Nurse sows, Guildlines for farrowing facilities, August 2010
3. Nurse sows for supernumerous piglets, Danish Pig Research Centre, Flemming Thorup
4. A 2-step nurse sow strategy, Pig Progress, Vivi Aarestrup Moustsen, January 2016
5. The welfare implications of large litter size in the domestic pig ll: management factors, Edinburgh Research Explorer, Baxter EM, Rutherford
KMD, D’Eath RB, Arnott G, Turner SP, Sandoe P, Moustsen VA, Thorup F, Edwards SA and Lawrence AB, 2013

บทความอื่นๆ
การหลีกเลี่ยง Heat Stress ความเครียดจากร้อนของสุกรในช่วงฤดูร้อน

จากสถิติในปี 2022 กว่า 22 ประเทศทั่วโลกมีอุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียสหรือมากกว่านั้น และในปีนี้มีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะเพิ่มสูงกว่าปีที่ผ่านมา อาจส่งผลให้ปัญหา “heat stress” หรือสภาวะความเครียดจากความร้อนของสุกรจะขยายเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน โดยภาวะนี้จะส่งผลกระทบอย่างมากในสุกรมากกว่าสัตว์ประเภทอื่น ๆ เนื่องจากสุกรไม่มีต่อมเหงื่อจึงไม่สามารถระบายความร้อนส่วนเกินออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตลดลง อัตราการป่วยตายสูงขึ้น อัตราการผสมติดต่ำ การกินอาหารได้ของสุกรลดลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการสูญเสียทางเศรษฐกิจในกลุ่มผู้ผลิตสุกรเป็นอย่างมาก ดังนั้นภาวะความเครียดจากความร้อนเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เราสามารถจัดการและลดผลกระทบจากภาวะความเครียดจากความร้อน (heat stress) ในสุกร ได้ดังนี้ เพิ่มการระบายอากาศและใช้ความเร็วลมภายในโรงเรือนอย่างเหมาะสม การสร้างโรงเรือนแบบปิดและใช้ระบบควบคุมอุณหภูมิด้วยการระเหยน้ำ เช่น การทำความเย็นด้วยการระเหยน้ำที่เกิดจากความเร็วลม การเพิ่มไอน้ำและความชื้นในอากาศภายในโรงเรือน อุปกรณ์ในระบบต้องสะอาดและอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อยู่เสมอ และหากเป็นไปได้ควรใช้น้ำเย็นในระบบ อุณหภูมิ อัตราการระบายอากาศ ความเร็วลม ความชื้นสัมพัทธ์ และปัจจัยอื่น ๆ ควรปรับให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ จัดเตรียมน้ำสะอาดและน้ำเย็นในปริมาณที่เพียงพอ น้ำถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับสุกรและน้ำเย็นจะช่วยลดอุณหภูมิภายในร่างกายได้ โดยสุกรควรกินน้ำให้พอเหมาะกับการบริโภคอาหารเพื่อรักษาปริมาณการกินอาหารในช่วงฤดูร้อน การกินน้ำควรเพียงพอกับความต้องการของสุกรแต่ละอายุและวงรอบการผลิต โดยเฉพาะสุกรช่วงก่อนคลอด ช่วงเลี้ยงลูกรวมถึงช่วงสุกรขุน   สัตว์ ปริมาณน้ำที่ต้องการ (ลิตร/วัน) อัตราการไหลของน้ำ (ลิตร/นาที) แม่เลี้ยงลูก 35-50 4 […]

2 Nov 2023
อัตราการรอดชีวิตที่สูงขึ้น ของสุกรสายพันธุ์ Danbred คือทางรอดของกลุ่มผู้ผลิตสายพันธุ์สุกร

ขณะนี้ผู้ผลิตสุกรทั่วโลกที่ใช้พันธุกรรมของสุกรสายพันธุ์ Danbred สามารถคาดหวังอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรได้สูงขึ้น เป้าหมายล่าสุดในการพัฒนาสายพันธุ์ Danbred คือการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกร ด้วยเริ่มด้วยสายพันธุ์ Duroc กล่าวคือ ในเดือนมกราคม 2023  อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรในฝูงที่ผลิตในเดนมาร์กคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการรอดชีวิตในลูกสุกรเติบโตขึ้นสูงกว่าปีที่แล้ว 0.8% และคาดว่าในเดือนพฤษภาคมจะมีลูกสุกรที่รอดชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 1% “เราได้เห็นผลลัพธ์ของเป้าหมายการปรับปรุงพันธุ์ใหม่อย่างรวดเร็วในกลุ่มพัฒนาสายพันธุ์สุกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายพันธุ์ Duroc  เนื่องจากการปรับปรุงพันธุ์และประสิทธิภาพการผลิตใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน เราจึงคาดว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรจะเริ่มแสดงให้เห็นในการผลิตในช่วงนี้แล้ว” Tage Ostersen หัวหนาแผนกการปรับปรุงสายพันธุ์ และพันธุศาสตร์ของสภาการเกษตรและอาหารแห่งเดนมาร์กกล่าว การเจาะลึก LP5 ที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ปัจจัยของเป้าหมายของการพัฒนาสายพันธุ์ (Breeding Goal) ที่ส่งผลต่อการรอดชีวิตของลูกหมูที่เพิ่มขึ้น คือ LP5 (จำนวนลูกสุกรที่มีชีวิตรอดที่อายุ  5 วัน) ด้วยการมุ่งหน้าพัฒนา LP5 ทำให้ขนาดครอกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ เจ้าของฟาร์มสามารถลดฝูงแม่พันธุ์ลง แต่ให้ผลผลิตหรือจำนวนลูกหย่านมที่เท่าเดิมได้ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 เราได้ปรับปรุงเป้าหมายในการพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อรวมคุณลักษณะใหม่สำหรับการอยู่รอดของลูกสุกร ทำให้ LP5 ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน โดยทาง […]

2 Nov 2023
เพิ่มลูกมีชีวิตได้ด้วยเทคนิคการให้อาหารแม่สุกรที่ถูกวิธี

การให้อาหารแม่สุกรแบบใหม่ที่ถูกวิธีสามารถช่วยเพิ่มลูกมีชีวิตมากขึ้น 1.7% หรือ 0.4 ตัวต่อครอก การให้อาหารแม่สุกรอุ้มท้องจนถึงหลังคลอดอย่างถูกวิธี ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับผลผลิตของฟาร์มสุกรในปัจจุบัน โดยแม่สุกรควรได้รับพลังงานที่เพียงพอสำหรับกระบวนการคลอดและการฟื้นตัวของแม่สุกรหลังคลอดด้วย ซึ่งจากการทดลองล่าสุดจากสถาบัน Aarhus University และ SEGES innovation พบว่าการให้อาหารแม่สุกร ประมาณ  3.3 – 3.8 กิโลกรัมต่อวันในช่วงย้ายแม่สุกรขึ้นคลอด (อย่างน้อย 3 วันก่อนคลอด) จนถึงคลอด สามารถเพิ่มลูกมีชีวิตได้มากขึ้น 1.7%  ยิ่งกินอาหารได้มากขึ้น ยิ่งทำให้ระยะเวลาการคลอดสั้นลง จากการศึกษาที่ผ่านมา จากสถาบัน Aarhus University และSEGES innovation ที่พบว่าไฟเบอร์จากบีทพัลป์ ในอาหารนั้นสำคัญสำหรับแม่สุกรโดยเฉพาะในกระบวนการคลอด วิธีการให้อาหารแบบใหม่ไม่เพียงแต่จะทำให้อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรมีมากขึ้น แต่ยังลดการช่วยคลอดหรือล้วงคลอด  อีกทั้งช่วยฟื้นตัวหลังคลอดได้ดียิ่งขึ้น   Camilla Kaae Højgaard หัวหน้าที่ปรึกษา SEGES Innovation. กล่าวว่า  “ ณ ตอนนี้พวกเราแนะนำว่าควรให้อาหารแม่สุกร ประมาณ  3.3 – 3.8 กิโลกรัมต่อวัน นับตั้งแต่วันที่ย้ายแม่สุกรเข้าเล้าคลอดจนถึงคลอด […]

2 Nov 2023

We use cookies to optimize and enhance the experience of using the website. You can learn more about the use of cookies at Cookie Policy and can choose to consent to the use of cookies. by clicking cookie settings

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for Necessary Cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Necessary Cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website's operation, i.e. cookies that enable the website to perform basic functions and to allow the website to function normally, such as navigating the website pages. or enable visitors/users of the website to log in and access parts of the website that are reserved for members only. The website will not function properly without these cookies being collected. Therefore, you cannot disable these types of cookies through the system of the Company's website. These cookies do not store information that can personally identify you in any way.

Save