
และมาตรฐาน
และตลอดไป

ภาพบรรยากาศการร่วมงานและออกบูธของ Amcovet (ทีมไก่) ในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เมื่อวันที่ 29 – 30 พฤษภาคม 2566 ณ โรงเเรม เฟลิกซ์ริเวอร์แคว กาญจนบุรี ซึ่งงานนี้จัดโดยสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เพื่อให้ความรู้ในการบริหารจัดการการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ให้เกิดความยั่งยืน และนำไปต่อยอดในธุรกิจผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ Amcovet ขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่ให้ความสนใจ และเข้าเยี่ยมชมบูธของเราด้วยนะคะ

วิธีการที่ดีในการเพิ่มการรอดชีวิตของลูกสุกร เพื่อให้ได้จำนวนลูกหย่าต่อแม่นั้น มีปัจจัยหลักคือแม่สุกรที่เลี้ยงลูกนั้นต้องสุขภาพดี ซึ่งจะต้องให้อาหารที่เหมาะสมและการจัดการที่ถูกต้องตลอดระยะเวลาเลี้ยงลูก ถึงแม้ว่าการปรับเปลี่ยนการจัดการในแม่ที่ให้ลูกดกนั้นจะเห็นผลช้าและไม่ง่ายเลย แต่ถ้าเราจัดการได้ถูกวิธีจะช่วยทำให้ผลผลิตของฝูงดีขึ้นได้แน่นอน การช่วยให้ได้ลูกมีชีวิตที่มากขึ้นนั้นเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนคลอด โดยย้ายแม่รอคลอดที่สุขภาพดีให้อยู่ในสภาพอากาศที่เหมาะสม และย้ายให้ถูกเวลาก่อนถึงกำหนดคลอด ซึ่งแม่รอคลอดควรได้รับอาหาร 3.3-4.0 กิโลกรัมต่อวันจนกว่าจะคลอด โดยให้เป็นเวลา อาจ 3 มื้อ หรือมากกว่านั้น และในอาหารควรมีปริมาณไฟเบอร์(แบบละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ) 500-600 กรัมต่อวัน อีกทั้งการมีคนเฝ้าคลอดเพื่อช่วยทำคลอดและดูแลลูกแรกเกิดที่ตัวเล็กนั้น ก็สามารถช่วยเพิ่มการรอดชีวิตของลูกสุกรได้ ซึ่งระหว่างการคลอด สิ่งสำคัญคือลูกทุกตัวต้องได้รับนมน้ำเหลืองและความอบอุ่น โดยต้องมั่นใจว่าลูกสุกรได้รับนมน้ำเหลืองอย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถทำได้โดยการแบ่งลูกสุกรให้ดูดนมแม่เป็นกลุ่มๆ(Split suckling) หรือย้ายลูกตัวเล็กไปให้แม่ที่มีลูกน้อยแต่ยังมีนมน้ำเหลืองอยู่ อีกทั้งการเกลี่ยจำนวนลูกหรือจัดไซส์ลูกควรทำให้เสร็จภายใน 8 ชั่วโมง และอาจช่วยโดยการเปิดไฟกกในกล่องกกหรือพื้นที่ที่ลูกนอน และหลังคลอดที่เป็นแบบแผนและสามารถทำได้จริง สาเหตุการตายของลูกสุกรแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ทั่วโลก อย่างเช่นในเดนมาร์ก 3 อันดับสาเหตุที่ทำให้ลูกสุกรอายุ 4 วันแรกตาย เกิดจากโดนแม่ทับ47% […]

สถานการณ์ของราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมานั้น เพิ่มสูงขึ้นมากและมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์สูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ นม และไข่ ในราคา ที่สูงขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากอาหารสัตว์เป็นต้นทุนของการเลี้ยงสัตว์กว่า 60-70% ผู้ผลิตอาหารสัตว์ในประเทศไทยนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์จากต่างประเทศถึง 60% และใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ภายในประเทศเพียง 40% การขึ้น-ลงของราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ขึ้นกับ 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) ปัจจัยภายในประเทศ ขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการต่างๆ เช่น การจัดเก็บภาษีนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ มาตรการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลี และการจำกัดช่วงเวลาการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน 2) สถานการณ์ราคาวัตถุดิบในตลาดโลก รวมถึงค่าบริหารและค่าขนส่ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถ ควบคุมได้ ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปรากฏการณ์เอลนินโญ่ และลานินญ่า ภัยแล้ง น้ำท่วม ทำให้ผลผลิตที่ได้มีปริมาณลดลง และราคาสูงขึ้น นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่อ่อนตัว ทำให้การนำเข้าวัตถุดิบมีต้นทุนสูงขึ้น อีกทั้งการฟื้นตัวจากสถานการณ์ โรคระบาดโควิด-19 และ ASF ของประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกกลับมาซื้อวัตถุดิบ ทำให้วัตถุดิบขาดแคลน และมีราคาสูงขึ้น รวมถึงสถานการณ์สงครามที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ เนื่องจากประเทศรัสเซียเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบอาหารสัตว์ รายใหญ่ของโลก โดยเฉพาะข้าวสาลีสำหรับอาหารสัตว์ […]

ประมวลภาพบรรยากาศการจัดงาน VIV ASIA 2023 งานแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจครบวงจร ตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ สู่อาหารเพื่อการบริโภคแห่งภูมิภาคเอเชีย มาพร้อมกับ “SWINE SERVICE CENTER” เพราะเราเชื่อว่าการทำปศุสัตว์ยุคใหม่ต้องอาศัยความรู้ในหลายมิติ

“เพราะการเตรียมความพร้อม ช่วยสร้างโอกาสผลักดันให้นักศึกษารู้จักการวิถีการปรับตัว…ก่อนก้าวเข้าสู่อนาคตในโลกแห่งการทำงาน” น.สพ.นิธิทัศน์ เจี๊ยบนา (คุณหมออ๊อบ) ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท แอมโก้ กรุ๊ป จำกัด ได้รับเกียรติไปร่วมแชร์ทักษะความรู้ ในหัวข้อ “ทักษะที่บัณฑิตพึงมีเพื่อเตรียมพร้อมกับการทำงานในอนาคต” เพื่อส่งเสริมการพัฒนา เรียนรู้ และมีทักษะ เพื่อยกระดับจากประสบการณ์ตรงพัฒนาสู่การทำงานในอนาคตสำหรับธุรกิจยุคใหม่ให้กับนักศึกษา ที่จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

น.สพ. เสริมศักดิ์ เจี๊ยบนา ” ผู้บุกเบิก ” สุกรสายพันธุ์แดนบรีดได้รับรางวัลนิสิตเก่าสัตวแพทย์ตัวอย่าง ประจำปี 2565 สาขาธุรกิจ จากสมาคมนิสิตเก่าสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ น.สพ. เสริมศักดิ์ เจี๊ยบนาหรือหมอเจี๊ยบ เป็นผู้ก่อตั้งและผู้บุกเบิก การนำเข้าสุกรสายพันธุ์แดนบรีด จากประเทศเดนมาร์ก ที่นำมาสู่ความสำเร็จของแอมโก้กรุ๊ปในปัจจุบัน โดยสุกรแดนบรีดได้กลายเป็นสายพันธุ์ที่นิยมเป็นอันดับหนึ่งของผู้เลี้ยงสุกรในประเทศไทย 40 ปีแห่งความสำเร็จและยังคงก้าวต่อไปข้างหน้าเพื่อทุกความสำเร็จที่ยั่งยืน

AMCOGROUP ได้จัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย ตลอดปี 2022 ทั้งในส่วนของการให้ความรู้ โดยการจัดงานสัมมนาต่างๆมอบประสบการณ์ดีๆ กับกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรวมไปถึงการทำกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อตอบโจทย์ทุกความสำเร็จอย่างยั่งยืน

AMCOGROUP มองเห็นและเชื่อในความเป็นไปได้ บุกเบิกสิ่งใหม่และมุ่งมั่นที่จะสร้างความสุขให้กับทุกคนทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานในองค์กรที่มีบรรยากาศการทำงานที่อบอุ่น ทำงานกันเป็นทีมและมีประสิทธิภาพเพื่อส่งต่อสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของเรา 40 ปี AMCOGROUP “ บุกเบิก เคียงข้าง สร้างความสำเร็จ“

ในหัวข้อเรื่อง “การคัดเลือกสายพันธุ์สุกรเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับความต้องการตลาด” เมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา น.สพ.นิธิทิศน์ เจี๊ยบนา ผู้อำนวยการฝ่ายขายบริษัท แอมโก้เวท จำกัด หรือคุณหมออ๊อบได้รับเกียรติจากอาจารย์คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ไปเป็นวิทยากรรับเชิญมอบความรู้ด้านการคัดเลือกสายพันธุ์หมูให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มีการอัพเดตสายพันธุ์และผลผลิตในปัจจุบันของสายพันธุ์แดนบรีดพร้อมทั้งแชร์ประสบการณ์และเทคนิคในการเลี้ยงหมูเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพผลผลิตที่สูงสุด โดยผู้ที่ประสบการณ์ในการเลี้ยงหมู อย่างคุณหมอเจี๊ยบ นายสัตวแพทย์เสริมศักดิ์ เจี๊ยบนา เจ้าของฟาร์ม แดนบรีด ประเทศไทย Mr.Poul Erik และ Mr.Jordan เจ้าของฟาร์มระดับแชมเปี้ยนที่เดนมาร์ก รวมถึงอาจารย์เนรมิต ผู้เชี่ยวชาญในด้านการปรับปรุงพันธุกรรมหมูมาร่วมแชร์เทคนิคและประสบการณ์ในการทำงานกับผู้เข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้

หมูหนุ่มในวันนี้ สู่พ่อหมูในวันหน้า “เคล็ดไม่ลับการเลี้ยงพ่อหมูอย่างมีคุณภาพ” ภาค 1 ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หน่วยพ่อพันธุ์มีความสำคัญมากในฟาร์มสุกรแม่พันธุ์ เนื่องจาก คุณภาพน้ำเชื้อจากพ่อหมูเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพผลผลิตของฟาร์ม ดังนั้นหลายๆฟาร์มจึงมีความพิถีพิถันกับการเลือกซื้อพ่อหมู ใส่ใจวิธีการเลี้ยง การจัดการในโรงเรือนพ่อพันธุ์ รวมถึงขั้นตอนการผลิตน้ำเชื้อ เพื่อให้พ่อหมูสุขภาพดี สามารถใช้งานเป็นพ่อหมูรีดน้ำเชื้อที่มีสุขภาพดี และสามารถให้น้ำเชื้อที่มีคุณภาพให้กับฟาร์มได้ยาวนานที่สุด อย่างไรก็ตาม บางท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าคุณภาพของน้ำเชื้อส่งผลได้จากหลายสาเหตุ และบางสาเหตุนั้น เป็นปัจจัยที่ทุกคนอาจมองข้าม เป็นที่มาของบทความนี้ ทางทีมวิชาการแอมโก้ ได้รวบรวมปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อสุขภาพพ่อหมูและคุณภาพของน้ำเชื้อมาให้ทุกท่านได้อ่านกัน โดยหัวข้อในวันนี้เราจะเน้นที่ปัจจัยเรื่องของพันธุ์และการจัดการโรงเรือนพ่อหมูเป็นหลัก ได้แก่ การคัดเลือกหมูหนุ่มมาเป็นพ่อพันธุ์ พันธุกรรม, โรคที่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำเชื้อ, การจัดการและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรือนพ่อพันธุ์ อาหารและโภชนาการ และสุดท้าย การรีดน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ พันธุกรรมและการคัดหมูมาเป็นพ่อพันธุ์ วิธีการคัดพ่อพันธุ์นั้นมีความสำคัญมาก ที่จะเลือกพ่อพันธุ์ที่มีลักษณะดีและ ความสามารถในการสร้างน้ำเชื้อที่มีคุณภาพ หากฟาร์มไหนมีการคัดเลือกพ่อพันธุ์จากปัจจัยคุณภาพของน้ำเชื้อขณะที่หมูอายุน้อยกว่า 8 เดือน อาจทำให้ผลมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากหมูยังโตไม่เต็มที่ ดังนั้นควรมีการคัดเลือกพ่อหมูจากคุณภาพของน้ำเชื้อที่พ่อหมูอายุ 8 เดือนขึ้นไป เพื่อดูทั้งลักษณะโครงสร้างและความสามารถในการรีดน้ำเชื้อ ปัจจัยเรื่องของน้ำหนักแรกคลอด เป็นจุดหนึ่งที่ใช้ดูแนวโน้มคุณภาพของพ่อหมูตัวนั้นได้ โดยลูกสุกรน้ำหนักแรกเกิดสูง (เกือบ 2 กิโลกรัม) จะมีขนาดอัณฑะใหญ่กว่า หมูที่น้ำหนักแรกคลอดต่ำ (ราว 1 […]

ลูกดกอย่างเดียวพอหรือไม่กับการพัฒนาสายพันธุ์ในปัจจุบัน เนื่องจากสถานการณ์การเลี้ยงสุกรในปัจจุบันกำลังประสบปัญหาต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านต้นทุนค่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ต้นทุนในการทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคระบาด ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องการคือ การหาวิธีที่จะลดต้นทุนการผลิตให้ได้มากที่สุดหรือไม่เพิ่มสูงไปกว่าเดิม หนึ่งในปัจจัยที่มีส่วนช่วยในการลดต้นทุนการผลิตที่หลายๆ คนมองข้ามไปนั่นคือ “พันธุกรรม” ปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางด้านการพัฒนาพันธุกรรมของสุกรเป็นอย่างมาก ผู้พัฒนาสายพันธุ์สุกรหลายรายต่างก็ให้ความสำคัญกับสัดส่วนของดัชนีแต่ละค่าแตกต่างกันออกไป ซึ่งนอกจากดัชนีประสิทธิภาพสุกรขุนแล้ว ยังมีดัชนีประสิทธิภาพของแม่สุกร เช่น จำนวนลูกมีชีวิตที่สูง หรือที่เรียกกันว่าลูกดก ซึ่งทางผู้พัฒนาสายพันธุ์สุกรเองก็เลือกที่จะชี้ให้ผู้ประกอบการรับรู้ว่าถ้าหากได้จำนวนลูกหย่านมเพิ่มมากขึ้น (จากการที่ได้ลูกมีชีวิตเพิ่มขึ้น) ต้นทุนลูกสุกรหย่านม/สุกรขุนก็จะลดลง แต่สิ่งที่เป็นปัญหาที่ผู้ประกอบการหลายๆ ท่านเคยพบก็คือ “ลูกดกแต่เก็บไม่ได้” รูปที่ 1. แม่สุกรที่เลี้ยงลูกดก มักพบปัญหาลูกสุกรสูญเสียในช่วงสัปดาห์แรกของการเลี้ยง สาเหตุที่เกิดปัญหาลูกดกแต่เก็บไม่ได้นั้นมีหลายปัจจัย โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักมองว่ามาจากการจัดการเป็นหลัก เช่น การเตรียมคอกคลอด การทำคลอด การย้ายฝาก เป็นต้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพของสุกรตั้งแต่แรกเลยคือ “พันธุกรรม” แน่นอนว่าถ้าพันธุกรรมดี ก็จะส่งผลให้การแสดงออกภายนอกของสุกรดีขึ้นด้วย ประเด็นสำคัญอยู่ที่ผู้พัฒนาสายพันธุ์ให้ความสำคัญกับเป้าพัฒนาสายพันธุ์ครอบคลุมถึงประสิทธิภาพตั้งแต่สุกรเกิดจนถึงขุนหรือไม่ กล่าวคือถ้าสุกรบางสายพันธุ์มีเป้าพัฒนาสายพันธุ์โดยมุ่งเน้นแต่เพียงดัชนีลูกดก โดยไม่ได้มีดัชนีที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของลูกสุกรหรือความสามารถในการถ่ายทอดการเจริญเติบโตจากพ่อแม่ไปยังลูกได้นั้น ก็มักจะพบปัญหา “ลูกดกแต่เก็บไม่ได้” ดังกล่าวเกิดขึ้น “แล้วแดนบรีด (DanBred) เล็งเห็นความสำคัญตรงนี้อย่างไร ?” […]