ประเทศไทยของเราปกติมี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูร้อนมาก และฤดูร้อนที่สุด
ซึ่งเรากำลังอยู่ในระหว่างช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนมาก สู่ฤดูร้อนที่สุด
จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา
คาดว่าในเดือนเมษายน 2563 อุณหภูมิจะสูงขึ้นมาก
แน่นอนว่าอากาศร้อนขนาดนี้
กระทบโดยตรงต่อคนเลี้ยงหมูในทุก ๆ ช่วงอายุ
ในส่วนของหมูขุน ผลจากความร้อนทำให้สุดท้าย
หมูจะโตช้าลง
เหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้ความร้อนมีผลกระทบต่อหมูสูงเนื่องจาก
1. หมูไม่มีต่อมเหงื่อ ดังนั้นจึงทำให้การระบายความร้อนออกจากร่างกายค่อนข้างจำกัด
2.เมื่อเทียบกับขนาดของร่างกายแล้ว หมูมีปอดไม่ใหญ่ ดังนั้นการหอบหายใจจึงช่วยได้ในระดับหนึ่ง
3.หมูมีชั้นไขมันค่อนข้างหนา ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนไม่ให้ออกจากร่างกาย หมูก็จะเก็บความร้อนเอาไว้ในร่างกายนานมากขึ้น
4.หมูที่โตเร็ว มีแนวโน้มสร้างความร้อนมากขึ้น
สิ่งที่หมูปรับตัวสู้กับความร้อน ได้แก่
การลดกิจกรรมลง
นอนเอาตัวแนบกับพื้นคอก
เพิ่มการกินน้ำ
หายใจหอบ
กินอาหารลดลง
ซึ่งทั้งหมดนี้ ส่งผลสุดท้ายคือ หมูจะโตช้าลง
และแน่นอน ต้นทุนการผลิตหมูต่อตัว ในช่วงอากาศร้อน
อาจเพิ่มขึ้นถึง ตัวละ 500-600 บาทเลยทีเดียว
ดังนั้นร้อนนี้ อย่าปล่อยให้หมูขุนของเราต้องร้อนอย่างเดียวดาย
แนวทางที่เราพอจะช่วยสนับสนุนหมูของเราให้ผ่านช่วงอุณหภูมิที่วิกฤตไปได้มีอะไรบ้าง ไปดูกัน
เตรียมการรับมือกับอากาศร้อนให้ได้มากที่สุด
แล้วเราก็จะผ่านฤดูร้อนนี้ไปด้วยกัน