ลูกดกอย่างเดียวพอหรือไม่กับการพัฒนาสายพันธุ์ในปัจจุบัน

ลูกดกอย่างเดียวพอหรือไม่กับการพัฒนาสายพันธุ์ในปัจจุบัน

เนื่องจากสถานการณ์การเลี้ยงสุกรในปัจจุบันกำลังประสบปัญหาต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านต้นทุนค่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ต้นทุนในการทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคระบาด ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องการคือ การหาวิธีที่จะลดต้นทุนการผลิตให้ได้มากที่สุดหรือไม่เพิ่มสูงไปกว่าเดิม หนึ่งในปัจจัยที่มีส่วนช่วยในการลดต้นทุนการผลิตที่หลายๆ คนมองข้ามไปนั่นคือ

“พันธุกรรม”

 

ปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางด้านการพัฒนาพันธุกรรมของสุกรเป็นอย่างมาก ผู้พัฒนาสายพันธุ์สุกรหลายรายต่างก็ให้ความสำคัญกับสัดส่วนของดัชนีแต่ละค่าแตกต่างกันออกไป ซึ่งนอกจากดัชนีประสิทธิภาพสุกรขุนแล้ว ยังมีดัชนีประสิทธิภาพของแม่สุกร เช่น จำนวนลูกมีชีวิตที่สูง หรือที่เรียกกันว่าลูกดก ซึ่งทางผู้พัฒนาสายพันธุ์สุกรเองก็เลือกที่จะชี้ให้ผู้ประกอบการรับรู้ว่าถ้าหากได้จำนวนลูกหย่านมเพิ่มมากขึ้น (จากการที่ได้ลูกมีชีวิตเพิ่มขึ้น) ต้นทุนลูกสุกรหย่านม/สุกรขุนก็จะลดลง  แต่สิ่งที่เป็นปัญหาที่ผู้ประกอบการหลายๆ ท่านเคยพบก็คือ

“ลูกดกแต่เก็บไม่ได้”

 

รูปที่ 1. แม่สุกรที่เลี้ยงลูกดก มักพบปัญหาลูกสุกรสูญเสียในช่วงสัปดาห์แรกของการเลี้ยง

            สาเหตุที่เกิดปัญหาลูกดกแต่เก็บไม่ได้นั้นมีหลายปัจจัย โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักมองว่ามาจากการจัดการเป็นหลัก เช่น การเตรียมคอกคลอด การทำคลอด การย้ายฝาก เป็นต้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพของสุกรตั้งแต่แรกเลยคือ “พันธุกรรม” แน่นอนว่าถ้าพันธุกรรมดี ก็จะส่งผลให้การแสดงออกภายนอกของสุกรดีขึ้นด้วย ประเด็นสำคัญอยู่ที่ผู้พัฒนาสายพันธุ์ให้ความสำคัญกับเป้าพัฒนาสายพันธุ์ครอบคลุมถึงประสิทธิภาพตั้งแต่สุกรเกิดจนถึงขุนหรือไม่ กล่าวคือถ้าสุกรบางสายพันธุ์มีเป้าพัฒนาสายพันธุ์โดยมุ่งเน้นแต่เพียงดัชนีลูกดก โดยไม่ได้มีดัชนีที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของลูกสุกรหรือความสามารถในการถ่ายทอดการเจริญเติบโตจากพ่อแม่ไปยังลูกได้นั้น ก็มักจะพบปัญหา “ลูกดกแต่เก็บไม่ได้” ดังกล่าวเกิดขึ้น

 

“แล้วแดนบรีด (DanBred) เล็งเห็นความสำคัญตรงนี้อย่างไร ?”

 

ในปี 2007 DanBred ได้ตั้งเป้าพัฒนาสายพันธุ์ในส่วนของดัชนีแม่พันธุ์เป็นหลัก (รูปที่ 2.) โดยสังเกตได้ว่าสัดส่วนหลักคือ จำนวนลูกสุกรที่รอดใน 5 วัน (Lived Piglets at Day5; LP5) ซึ่งจากข้อมูลงานวิจัยหรือแม้กระทั่งในสภาพการเลี้ยงจริง สามารถใช้เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าลูกสุกรจะเสี่ยงต่อการสูญเสียมากที่สุดในช่วงสัปดาห์แรกของการเลี้ยง อีกทั้งยังให้ความสำคัญถึงเรื่องความสามารถในการเลี้ยงลูก (Maternal effect) การใช้งานแม่สุกรได้เป็นเวลานาน (Longevity) ซึ่งนอกจาก LP5 ที่เป็นหัวใจสำคัญของเรื่อง “ลูกดกแต่เก็บไม่ได้” นั้น ทีมวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ยังตั้งเป้าใน ส่วนของอัตราการเจริญเติบโตจนถึง 30 กิโลกรัม (Maternal Daily Gain Litter Birth-30; mDGLB30) ซึ่งเป็นยีนที่มาจากแม่สุกรที่สามารถส่งต่อให้กับลูกสุกรได้ สร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการได้ว่าลักษณะทางพันธุกรรมนี้จะช่วยให้ลูกสุกรแข็งแรงและมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น

 

รูปที่ 2. เป้าพัฒนาสายพันธุ์ของแม่พันธุ์ในปี 2007 แสดงถึงการให้ความสำคัญของดัชนีทางสายแม่พันธุ์เป็นหลัก

 

 

เมื่อพันธุกรรมในสายแม่สุกรให้ประสิทธิภาพที่น่าพอใจในเรื่องของดัชนีแม่พันธุ์ เช่น ลูกดก ความแข็งแรงของลูกสุกรแรกคลอด เป็นต้น ในปี 2018 ทาง DanBred ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในส่วนของดัชนีประสิทธิภาพของสุกรขุนมากยิ่งขึ้น เพราะต้นทุนในส่วนของค่าอาหารมีสัดส่วนมากที่สุด ดังนั้น FCR จึงตอบโจทย์ในการลดต้นทุนมากที่สุดนั่นเอง (รูปที่ 3.)

 

รูปที่ 3. เป้าพัฒนาสายพันธุ์ของแม่พันธุ์ในปี 2018 แสดงถึงการให้ความสำคัญของดัชนีประสิทธิภาพทางสุกรขุนเป็นหลัก

และสุดท้ายในปี 2022 (รูปที่ 4.) เป้าพัฒนาสายพันธุ์ของสายแม่สุกรยังคงให้ความสำคัญกับดัชนีประสิทธิภาพสุกรขุนเป็นอันดับหนึ่ง และเพิ่มจุดโฟกัสคือ “ความแข็งแรง (Robustness)” ทั้งในส่วนของแม่สุกร (อายุการใช้งาน, รูปร่าง) และลูกสุกร (การเอาตัวรอด, ความแข็งแรงของตัวลูกสุกรเอง) โดยท้ายที่สุดมุ่งหวังได้ผู้ประกอบการได้จำนวนลูกหย่านมเพิ่มขึ้น เป็นสุกรขุนที่ ADG สูง FCR ต่ำ

 

รูปที่ 4. สัดส่วนของเป้าพัฒนาสายพันธุ์สายแม่สุกรของ DanBred ในปี 2022

 

สังเกตได้ว่า DanBred ได้พัฒนาสายพันธุ์สุกรเดนมาร์กโดยคำนึงถึงผู้ประกอบการเป็นหลัก ที่ไม่ได้แค่คำนึงถึงจำนวนลูกดกเท่านั้น แต่ยังพัฒนาประสิทธิภาพในการเลี้ยงลูกของแม่สุกร ซึ่งยังสามารถส่งผ่านพันธุกรรมที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของลูกสุกร อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพของสุกรขุน รวมถึงความแข็งแรงของสุกร ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการได้ลูกสุกรหย่านมจนถึงขุนมากขึ้น ตอบโจทย์ผู้ประกอบการในเรื่องของการเลี้ยงลูกที่ดกขึ้นแต่เก็บไม่ได้ ที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตในภาวะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ทางแอมโก้จึงอยากให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงความสำคัญของการพัฒนาสายพันธุ์ ที่ไม่ใช่แค่คำนึงถึงจำนวนลูกที่ดกขึ้น แต่ต้องคำนึงถึงเป้าพัฒนาสายพันธุ์ในส่วนของความสามารถในการเลี้ยงลูก ความแข็งแรง และประสิทธิภาพสุกรขุน  เพื่อตอบโจทย์ปัญหาในการเลี้ยงสุกรอย่างครบวงจรในปัจจุบันอีกด้วย

 

“ลูกดกอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องให้ความสำคัญกับความแข็งแรงด้วย”

 

บทความอื่นๆ
คาร์บอนเครดิตคืออะไรและความสำคัญ ของคาร์บอนเครดิตที่มีต่อภาคอุตสาหกรรม

ด้วยสถานการณ์ภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติต่าง ๆ ทางธรรมชาติ ทำให้ทั่วโลกได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ “คาร์บอนเครดิต” กลายมาเป็นสิ่งที่ถูกใช้กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยเช่นกัน เพื่อมุ่งหวังที่จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทางภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสำคัญ คาร์บอนเครดิตคืออะไร คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือจำนวนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมสามารถปล่อยได้ต่อปี ก๊าซชนิดนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะเรือนกระจก (Green House Effect) ซึ่งถ้าปล่อยก๊าซมลภาวะนี้น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สามารถนำส่วนต่างไปจำหน่ายให้กับบริษัทอื่น ๆ ในภาคอุตสาหกรรมได้ ดังนั้นนโยบายการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจึงกลายเป็นแรงจูงใจและยังเป็นส่วนหนึ่งของกลไกตลาด เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมรายใหญ่และโรงงานต่าง ๆ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผู้ประกอบการหลาย ๆ แห่งมักจะทำโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย เพื่อเป็นการสร้างคาร์บอนเครดิตและช่วยให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศลดลง เช่น การปลูกต้นไม้คืนพื้นที่สีเขียวสู่สังคม เป็นต้น ความสำคัญของคาร์บอนเครดิตที่มีต่อภาคอุตสาหกรรม เมื่อผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมถูกกำหนดให้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แต่ด้วยการผลิตขนาดใหญ่จำเป็นต้องปล่อยเกินปริมาณที่กำหนดไว้ตามเกณฑ์ คาร์บอนเครดิตจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรม อันเปรียบเสมือนสิทธิการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การซื้อคาร์บอนเครดิตจากผู้ประกอบการรายอื่น ๆ คล้ายกับการซื้อโควตาสิทธิที่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มให้เพียงพอกับการผลิตของตนเอง มิเช่นนั้นต้องจ่ายค่าปรับทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่วนผู้ประกอบการที่สามารถควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ทำให้มีส่วนต่างของปริมาณคาร์บอนที่ยังไม่ได้ปล่อยแล้วนำไปจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการรายอื่นได้ โดยอยู่ภายในขอบเขตที่แต่ละประเทศกำหนดค่ามาตรฐานเอาไว้ ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จึงหันมาพัฒนากระบวนการผลิตแล้วเลือกใช้พลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้น คาร์บอนเครดิตซื้อได้ที่ไหน ราคาเท่าไร ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมสามารถหาซื้อคาร์บอนเครดิตได้จาก “ตลาดคาร์บอนเครดิต” (Carbon Market) เป็นแหล่งตัวกลางเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายคาร์บอนเครดิต […]

6 Jun 2024
การหลีกเลี่ยง Heat Stress ความเครียดจากร้อนของสุกรในช่วงฤดูร้อน

จากสถิติในปี 2022 กว่า 22 ประเทศทั่วโลกมีอุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียสหรือมากกว่านั้น และในปีนี้มีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะเพิ่มสูงกว่าปีที่ผ่านมา อาจส่งผลให้ปัญหา “heat stress” หรือสภาวะความเครียดจากความร้อนของสุกรจะขยายเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน โดยภาวะนี้จะส่งผลกระทบอย่างมากในสุกรมากกว่าสัตว์ประเภทอื่น ๆ เนื่องจากสุกรไม่มีต่อมเหงื่อจึงไม่สามารถระบายความร้อนส่วนเกินออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตลดลง อัตราการป่วยตายสูงขึ้น อัตราการผสมติดต่ำ การกินอาหารได้ของสุกรลดลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการสูญเสียทางเศรษฐกิจในกลุ่มผู้ผลิตสุกรเป็นอย่างมาก ดังนั้นภาวะความเครียดจากความร้อนเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เราสามารถจัดการและลดผลกระทบจากภาวะความเครียดจากความร้อน (heat stress) ในสุกร ได้ดังนี้ เพิ่มการระบายอากาศและใช้ความเร็วลมภายในโรงเรือนอย่างเหมาะสม การสร้างโรงเรือนแบบปิดและใช้ระบบควบคุมอุณหภูมิด้วยการระเหยน้ำ เช่น การทำความเย็นด้วยการระเหยน้ำที่เกิดจากความเร็วลม การเพิ่มไอน้ำและความชื้นในอากาศภายในโรงเรือน อุปกรณ์ในระบบต้องสะอาดและอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อยู่เสมอ และหากเป็นไปได้ควรใช้น้ำเย็นในระบบ อุณหภูมิ อัตราการระบายอากาศ ความเร็วลม ความชื้นสัมพัทธ์ และปัจจัยอื่น ๆ ควรปรับให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ จัดเตรียมน้ำสะอาดและน้ำเย็นในปริมาณที่เพียงพอ น้ำถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับสุกรและน้ำเย็นจะช่วยลดอุณหภูมิภายในร่างกายได้ โดยสุกรควรกินน้ำให้พอเหมาะกับการบริโภคอาหารเพื่อรักษาปริมาณการกินอาหารในช่วงฤดูร้อน การกินน้ำควรเพียงพอกับความต้องการของสุกรแต่ละอายุและวงรอบการผลิต โดยเฉพาะสุกรช่วงก่อนคลอด ช่วงเลี้ยงลูกรวมถึงช่วงสุกรขุน   สัตว์ ปริมาณน้ำที่ต้องการ (ลิตร/วัน) อัตราการไหลของน้ำ (ลิตร/นาที) แม่เลี้ยงลูก 35-50 4 […]

2 Nov 2023

We use cookies to optimize and enhance the experience of using the website. You can learn more about the use of cookies at Cookie Policy and can choose to consent to the use of cookies. by clicking cookie settings

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for Necessary Cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Necessary Cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website's operation, i.e. cookies that enable the website to perform basic functions and to allow the website to function normally, such as navigating the website pages. or enable visitors/users of the website to log in and access parts of the website that are reserved for members only. The website will not function properly without these cookies being collected. Therefore, you cannot disable these types of cookies through the system of the Company's website. These cookies do not store information that can personally identify you in any way.

Save