เทคนิคการจับสัด-ผสมเทียมที่ดี – เพิ่มผลผลิตให้แก่ฟาร์ม

เทคนิคการจับสัดผสมเทียมที่ดี เพิ่มผลผลิตให้แก่ฟาร์ม 

– จะทำอย่างไรให้การจัดการจับสัดให้ประสบความสำเร็จ??   

– แดนบรีดพบว่าวิธีการจับสัดที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้แม่พันธุ์ให้ผลผลิตดียิ่งขึ้น

– ทีมวิชาการแอมโก้เวท มีเคล็ดไม่ลับมาแชร์ให้ทุกคน เพื่อเพิ่มผลผลิตของฟาร์ม

ประเด็นสำคัญ

  1. เวลาที่ควรเริ่มเช็คสัดแม่หมู
  2. พ่อเช็คสัดหนึ่งปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม
  3. แม่หมูยืนนิ่ง จุดสำคัญของการจับสัดที่แม่นยำ
  4. อาการที่บ่งบอกการเป็นสัด
  5. เทคนิคกระตุ้นการเป็นสัด 5 ขั้นตอนตามแบบฉบับแอมโก้ฟาร์ม
  6. การวางแผนผสมเทียม
  7. บอร์เบทเทอร์ ตัวช่วยในการเช็คสัด

1. เราควรเริ่มเช็คสัดตอนไหน ?? เพื่อหาแม่หมูที่พร้อมสำหรับการผสม

– แม่หมูหลังหย่านม ควรทำการเช็คสัดอย่างน้อย 1 ครั้ง/วัน ตั้งแต่ 3 วันหลังหย่านมจนถึงเริ่มผสมเทียม

– แม่ตกค้าง เช่นแม่นม แม่ที่มีปัญหา ควรมีการเช็คสัด อย่างน้อยวันละครั้ง ตั้งแต่วันแรกจนถึงถึงเริ่มผสมเทียม

 

      2. พ่อเช็คสัด 

– พ่อหมูเดินเช็คสัด หากมีควรสลับใช้เพื่อให้มีกลิ่นฟีโรโมนที่แตกต่างกัน
– อัตราส่วนจำนวน แม่หมู: พ่อกระตุ้นสัด : คือ 1:250 ตัว
พ่อกระตุ้นสัด  1 ตัว ยืนหน้าแม่หมู 5-6 ตัว
ควรมีการจมูกชนจมูกของพ่อและแม่หมู
เปลี่ยนชุดพ่อเช็คสัดทุก 6-18 เดือน

 

 

 

 

    แม่หมูยืนนิ่ง จุดสำคัญ ของการจับสัดที่แม่นยำ

– จุดสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการผสมเทียมสุกร คือ วิธีการจับสัดที่ถูกต้องและวิธีการผสมเทียมที่ถูกเวลา
– โดยปกติแล้ว แม่หมูสุขภาพดี จะเป็นสัดทุก 18-23 วัน หรือ 4-5 วันหลังหย่านม
แม่หมูจะมีการตกไข่ ณ ช่วงเวลา 2/3 ของการยืนนิ่ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการผสมคือ ก่อนตกไข่ 24 ชั่วโมง จนถึง 4 ชั่วโมงหลังตกไข่
การกระตุ้นการเป็นสัดในแม่หมู ทำให้ฮอร์โมน oxytocin หลั่งมากขึ้น
    ซึ่งตัวฮอร์โมนนี้ ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดการหดตัว ส่งผลต่อการยืนนิ่งของแม่หมู
การใช้พ่อหมูเช็คสัดที่มีสุขภาพแข็งแรง และมีความกำหนัดสูง จะยิ่งทำให้พ่อหมูปลดปล่อยฟีโรโมน กระตุ้นการเป็นสัดของแม่หมูได้ดียิ่งขึ้น

 

    อาการที่บ่งบอกการเป็นสัด เพื่อการจับสัดที่ถูกต้อง

– ยืนนิ่ง ตอบสนองต่อน้ำหนักกดทับ
– หูตั้ง
– ส่งเสียงครางซ้ำๆ
ยืนนิ่งขาเกร็ง
จิ๋มบวม มีเมือก

 

 

    เทคนิคกระตุ้นการเป็นสัด 5 ขั้นตอน 

 

 

การกระตุ้น 5 ขั้นตอน คือ การเลียนแบบการกระตุ้นของพ่อหมู โดยนำไปใช้ใน 3 จุดสำคัญ ได้แก่ การกระตุ้นการเป็นสัด การตรวจสัด และ
การผสมเทียม ซึ่งทำให้แม่หมูยืนนิ่งนานขึ้นขณะผสม มดลูกบีบตัวได้ดีขณะเดินน้ำเชื้อ ส่งผลให้อัตราการผสมติดดีขึ้นและจำนวนตัวอ่อนที่ผสมติดเพิ่มขึ้นทำให้ลูกสุกรดกขึ้น โดยมีขั้นตอนดังนี้

 

 

    ผลดีของการใช้วิธีการกระตุ้น 5 ขั้นตอน คือ ช่วยให้แม่หมูยืนนิ่งนานขึ้นขณะผสม มดลูกบีบตัวได้ขณะเดินน้ำเชื้อ ส่งผลดีต่อ อัตราการผสมติดที่ดีมากขึ้น จำนวนตัวอ่อนที่ผสมติดเพิ่มขึ้น ลูกดกขึ้น

    – การวางแผนผสมเทียม 

 

 

ในปัจจุบัน สถานการณ์ของการเลี้ยงสุกรมีความเปลี่ยนแปลงไป

    เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรค ASF ทำให้บางฟาร์ม พ่อหมูเป็นแหล่งระบาดของโรคภายในฟาร์ม หลายฟาร์มเลือกที่จะไม่มีพ่อหมูจนเกิดการขาดแคลนพ่อหมูเกิดขึ้นในฟาร์ม และการใช้พ่อเช็คสัดยังเป็นจุดเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคในฟาร์ม การใช้ฟีโรโมนเพื่อทดแทนการใช้พ่อหมูจึงเป็นทางออกที่สำคัญ

 

 

บอร์เบทเทอร์ 

ผลิตภัณฑ์หนึ่งเดียว ที่มีฟีโรโมนที่สำคัญในน้ำลายของพ่อหมูถึง 3 ชนิด

– ช่วยกระตุ้นให้แม่หมูแสดงอาการเป็นสัดชัดเจน
ปลอดภัย ใช้สะดวก
เพียงสเปรย์โดยตรงที่จมูกของแม่หมู ห่างประมาณ 15-20 เซนติเมตร

 

บทความอื่นๆ
หมูหนุ่มในวันนี้ สู่พ่อหมูที่ดีในวันหน้า เคล็ดไม่ลับ การเลี้ยงพ่อหมูอย่างมีคุณภาพ EP.1

หมูหนุ่มในวันนี้ สู่พ่อหมูในวันหน้า “เคล็ดไม่ลับการเลี้ยงพ่อหมูอย่างมีคุณภาพ” ภาค 1 ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หน่วยพ่อพันธุ์มีความสำคัญมากในฟาร์มสุกรแม่พันธุ์ เนื่องจาก คุณภาพน้ำเชื้อจากพ่อหมูเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพผลผลิตของฟาร์ม ดังนั้นหลายๆฟาร์มจึงมีความพิถีพิถันกับการเลือกซื้อพ่อหมู ใส่ใจวิธีการเลี้ยง การจัดการในโรงเรือนพ่อพันธุ์ รวมถึงขั้นตอนการผลิตน้ำเชื้อ เพื่อให้พ่อหมูสุขภาพดี สามารถใช้งานเป็นพ่อหมูรีดน้ำเชื้อที่มีสุขภาพดี และสามารถให้น้ำเชื้อที่มีคุณภาพให้กับฟาร์มได้ยาวนานที่สุด อย่างไรก็ตาม บางท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าคุณภาพของน้ำเชื้อส่งผลได้จากหลายสาเหตุ และบางสาเหตุนั้น เป็นปัจจัยที่ทุกคนอาจมองข้าม เป็นที่มาของบทความนี้ ทางทีมวิชาการแอมโก้ ได้รวบรวมปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อสุขภาพพ่อหมูและคุณภาพของน้ำเชื้อมาให้ทุกท่านได้อ่านกัน โดยหัวข้อในวันนี้เราจะเน้นที่ปัจจัยเรื่องของพันธุ์และการจัดการโรงเรือนพ่อหมูเป็นหลัก ได้แก่ การคัดเลือกหมูหนุ่มมาเป็นพ่อพันธุ์ พันธุกรรม, โรคที่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำเชื้อ, การจัดการและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรือนพ่อพันธุ์ อาหารและโภชนาการ และสุดท้าย การรีดน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ พันธุกรรมและการคัดหมูมาเป็นพ่อพันธุ์ วิธีการคัดพ่อพันธุ์นั้นมีความสำคัญมาก ที่จะเลือกพ่อพันธุ์ที่มีลักษณะดีและ ความสามารถในการสร้างน้ำเชื้อที่มีคุณภาพ หากฟาร์มไหนมีการคัดเลือกพ่อพันธุ์จากปัจจัยคุณภาพของน้ำเชื้อขณะที่หมูอายุน้อยกว่า 8 เดือน อาจทำให้ผลมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากหมูยังโตไม่เต็มที่ ดังนั้นควรมีการคัดเลือกพ่อหมูจากคุณภาพของน้ำเชื้อที่พ่อหมูอายุ 8 เดือนขึ้นไป เพื่อดูทั้งลักษณะโครงสร้างและความสามารถในการรีดน้ำเชื้อ ปัจจัยเรื่องของน้ำหนักแรกคลอด เป็นจุดหนึ่งที่ใช้ดูแนวโน้มคุณภาพของพ่อหมูตัวนั้นได้ โดยลูกสุกรน้ำหนักแรกเกิดสูง (เกือบ 2 กิโลกรัม) จะมีขนาดอัณฑะใหญ่กว่า หมูที่น้ำหนักแรกคลอดต่ำ (ราว 1 […]

8 Dec 2022
ลูกดกอย่างเดียวพอหรือไม่กับการพัฒนาสายพันธุ์ในปัจจุบัน

ลูกดกอย่างเดียวพอหรือไม่กับการพัฒนาสายพันธุ์ในปัจจุบัน เนื่องจากสถานการณ์การเลี้ยงสุกรในปัจจุบันกำลังประสบปัญหาต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านต้นทุนค่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ต้นทุนในการทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคระบาด ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องการคือ การหาวิธีที่จะลดต้นทุนการผลิตให้ได้มากที่สุดหรือไม่เพิ่มสูงไปกว่าเดิม หนึ่งในปัจจัยที่มีส่วนช่วยในการลดต้นทุนการผลิตที่หลายๆ คนมองข้ามไปนั่นคือ “พันธุกรรม”   ปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางด้านการพัฒนาพันธุกรรมของสุกรเป็นอย่างมาก ผู้พัฒนาสายพันธุ์สุกรหลายรายต่างก็ให้ความสำคัญกับสัดส่วนของดัชนีแต่ละค่าแตกต่างกันออกไป ซึ่งนอกจากดัชนีประสิทธิภาพสุกรขุนแล้ว ยังมีดัชนีประสิทธิภาพของแม่สุกร เช่น จำนวนลูกมีชีวิตที่สูง หรือที่เรียกกันว่าลูกดก ซึ่งทางผู้พัฒนาสายพันธุ์สุกรเองก็เลือกที่จะชี้ให้ผู้ประกอบการรับรู้ว่าถ้าหากได้จำนวนลูกหย่านมเพิ่มมากขึ้น (จากการที่ได้ลูกมีชีวิตเพิ่มขึ้น) ต้นทุนลูกสุกรหย่านม/สุกรขุนก็จะลดลง  แต่สิ่งที่เป็นปัญหาที่ผู้ประกอบการหลายๆ ท่านเคยพบก็คือ “ลูกดกแต่เก็บไม่ได้”   รูปที่ 1. แม่สุกรที่เลี้ยงลูกดก มักพบปัญหาลูกสุกรสูญเสียในช่วงสัปดาห์แรกของการเลี้ยง             สาเหตุที่เกิดปัญหาลูกดกแต่เก็บไม่ได้นั้นมีหลายปัจจัย โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักมองว่ามาจากการจัดการเป็นหลัก เช่น การเตรียมคอกคลอด การทำคลอด การย้ายฝาก เป็นต้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพของสุกรตั้งแต่แรกเลยคือ “พันธุกรรม” แน่นอนว่าถ้าพันธุกรรมดี ก็จะส่งผลให้การแสดงออกภายนอกของสุกรดีขึ้นด้วย ประเด็นสำคัญอยู่ที่ผู้พัฒนาสายพันธุ์ให้ความสำคัญกับเป้าพัฒนาสายพันธุ์ครอบคลุมถึงประสิทธิภาพตั้งแต่สุกรเกิดจนถึงขุนหรือไม่ กล่าวคือถ้าสุกรบางสายพันธุ์มีเป้าพัฒนาสายพันธุ์โดยมุ่งเน้นแต่เพียงดัชนีลูกดก โดยไม่ได้มีดัชนีที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของลูกสุกรหรือความสามารถในการถ่ายทอดการเจริญเติบโตจากพ่อแม่ไปยังลูกได้นั้น ก็มักจะพบปัญหา “ลูกดกแต่เก็บไม่ได้” ดังกล่าวเกิดขึ้น   “แล้วแดนบรีด (DanBred) เล็งเห็นความสำคัญตรงนี้อย่างไร ?”   […]

22 Nov 2022

We use cookies to optimize and enhance the experience of using the website. You can learn more about the use of cookies at Cookie Policy and can choose to consent to the use of cookies. by clicking cookie settings

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for Necessary Cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Necessary Cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website's operation, i.e. cookies that enable the website to perform basic functions and to allow the website to function normally, such as navigating the website pages. or enable visitors/users of the website to log in and access parts of the website that are reserved for members only. The website will not function properly without these cookies being collected. Therefore, you cannot disable these types of cookies through the system of the Company's website. These cookies do not store information that can personally identify you in any way.

Save