สุขภาพดี ผลผลิตดี เริ่มต้นจากอะไร

สุขภาพดี ผลผลิตดี เริ่มต้นจากอะไร? 

จุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี ผลผลิตที่ดี เริ่มจากการมี Gut health หรือ สุขภาพของทางเดินอาหารที่ดี
เพราะ สุขภาพของทางเดินอาหาร (Gut health) เป็นเรื่องสำคัญของสัตว์และมีบทบาทต่อระบบภูมิคุ้มกัน โดยทางเดินอาหารเป็นจุดเริ่มต้นของภูมิคุ้มกัน การเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตที่ดีต้องมาจาก สุขภาพของทางเดินอาหาร ที่ดี
ปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพของทางเดินอาหาร 

1.สารอาหารที่ได้รับ
2.จุลชีพประจำถิ่นในทางเดินอาหาร|
3.ความแข็งแรงรอยต่อของเซลล์เยื่อเมือกทางเดินอาหาร
4.การกินได้ของสัตว์

 

จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารหรือ Gut microbiome

จุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร (Gut microbiome)  ไม่ใช่แค่เพียงช่วยในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร เท่านั้น ยังช่วยในเรื่อง……

  • การสร้างวิตามิน              
  • การกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • การปกป้องร่างกายจากการบุกรุกของเชื้อก่อโรค 

จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารมีความสำคัญมากต่อสุขภาพของสัตว์
ดังนั้น ต้องดูแลจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารให้ดีที่สุด 

ตัวช่วยในการดูแลจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร  ได้แก่ โปรไบโอติกส์ พรีไบโอติก กรดอินทรีย์ ไฟโตนิวเทรียนท์ เอนไซม์ ตัวจับสารพิษจากเชื้อรา ฯลฯ

โปรไบโอติกส์

จุลชีพมีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  ช่วยปรับสมดุลจุลชีพในทางเดินอาหาร  เช่น Bacillus spp., Lactobacillus spp., Enterococcus spp. เป็นต้น

หน้าที่ของ โปรไบโอติกส์

  1. แย่งสารอาหารที่เหลือจากการย่อยของสัตว์ ทำให้ไม่หลงเหลือไปเป็นอาหารของแบคทีเรียก่อโรค 
  2. สร้าง SCFA : ลด pH ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค ปรับสภาพทางเดินอาหาร เป็นอาหารของเซลล์ลำไส้
  3. จับกับแบคทีเรียก่อโรค (pathogenic bacteria) เกิดเป็นก้อนและถูกขับออกมาทางอุจจาระ
  4. แย่งจับตัวรับ (receptor) ที่ผนังลำไส้ ทำให้เชื้อแบคทีเรียก่อโรค ไม่มีที่ยึดเกาะ

  เคลือบผนังลำไส้ ทำให้สารพิษต่างๆ (endotoxin) ไม่สามารถเข้ามาจับได้

  1. สร้างสารอาหารที่จำเป็น เพิ่มการสังเคราะห์วิตามินบี (B) เพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
  2. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน (IgA) ให้ตื่นตัว พร้อมที่จะต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย
  3. ต่อสู้กับเชื้อโรคโดยไม่ก่อให้เกิดการอักเสบ

คุณสมบัติของโปรไบโอติกส์ที่ดี

  • ปลอดภัยต่อสัตว์
  • ทนทานต่อความเป็นกรด-ด่าง ทนต่อยาปฏิชีวนะ
  • ช่วยย่อยอาหารที่สัตว์ย่อยเองไม่ได้
  • สามารถมีชีวิต เพิ่มจำนวนและสามารถเจริญเติบโตในทางเดินอาหารได้
  • สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคได้
  • มีความคงตัวและมีชีวิตได้ภายใต้กระบวนการผลิตอาหาร
  • มีความคงตัวและมีชีวิตได้ภายใต้กระบวนการเก็บรักษา

เอนโดสปอร์ (Endospore)

ในภาวะที่ไม่เหมาะสม  แบคทีเรียที่สร้างเอนโดสปอร์จะมีการสร้างเอนโดสปอร์รูปไข่ขึ้น
เช่น Bacillus subtilis และ Clostridium butyricum  เมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
เช่น ทางเดินอาหารเอนโดสปอร์จะเกิดการแตกตัวเป็นแบคทีเรียที่สามารถเพิ่มจำนวนได้ (vegetative cell)
โปรไบโอติกส์ในรูปเอนโดสปอร์คงทนในสภาวะต่างๆ ได้ดี

  • ทนความร้อน
  • ทนความเป็นกรด-ด่าง
  • ทนยาฆ่าเชื้อโรค

 

บทความอื่นๆ
การหลีกเลี่ยง Heat Stress ความเครียดจากร้อนของสุกรในช่วงฤดูร้อน

จากสถิติในปี 2022 กว่า 22 ประเทศทั่วโลกมีอุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียสหรือมากกว่านั้น และในปีนี้มีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะเพิ่มสูงกว่าปีที่ผ่านมา อาจส่งผลให้ปัญหา “heat stress” หรือสภาวะความเครียดจากความร้อนของสุกรจะขยายเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน โดยภาวะนี้จะส่งผลกระทบอย่างมากในสุกรมากกว่าสัตว์ประเภทอื่น ๆ เนื่องจากสุกรไม่มีต่อมเหงื่อจึงไม่สามารถระบายความร้อนส่วนเกินออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตลดลง อัตราการป่วยตายสูงขึ้น อัตราการผสมติดต่ำ การกินอาหารได้ของสุกรลดลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการสูญเสียทางเศรษฐกิจในกลุ่มผู้ผลิตสุกรเป็นอย่างมาก ดังนั้นภาวะความเครียดจากความร้อนเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เราสามารถจัดการและลดผลกระทบจากภาวะความเครียดจากความร้อน (heat stress) ในสุกร ได้ดังนี้ เพิ่มการระบายอากาศและใช้ความเร็วลมภายในโรงเรือนอย่างเหมาะสม การสร้างโรงเรือนแบบปิดและใช้ระบบควบคุมอุณหภูมิด้วยการระเหยน้ำ เช่น การทำความเย็นด้วยการระเหยน้ำที่เกิดจากความเร็วลม การเพิ่มไอน้ำและความชื้นในอากาศภายในโรงเรือน อุปกรณ์ในระบบต้องสะอาดและอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อยู่เสมอ และหากเป็นไปได้ควรใช้น้ำเย็นในระบบ อุณหภูมิ อัตราการระบายอากาศ ความเร็วลม ความชื้นสัมพัทธ์ และปัจจัยอื่น ๆ ควรปรับให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ จัดเตรียมน้ำสะอาดและน้ำเย็นในปริมาณที่เพียงพอ น้ำถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับสุกรและน้ำเย็นจะช่วยลดอุณหภูมิภายในร่างกายได้ โดยสุกรควรกินน้ำให้พอเหมาะกับการบริโภคอาหารเพื่อรักษาปริมาณการกินอาหารในช่วงฤดูร้อน การกินน้ำควรเพียงพอกับความต้องการของสุกรแต่ละอายุและวงรอบการผลิต โดยเฉพาะสุกรช่วงก่อนคลอด ช่วงเลี้ยงลูกรวมถึงช่วงสุกรขุน   สัตว์ ปริมาณน้ำที่ต้องการ (ลิตร/วัน) อัตราการไหลของน้ำ (ลิตร/นาที) แม่เลี้ยงลูก 35-50 4 […]

2 Nov 2023
อัตราการรอดชีวิตที่สูงขึ้น ของสุกรสายพันธุ์ Danbred คือทางรอดของกลุ่มผู้ผลิตสายพันธุ์สุกร

ขณะนี้ผู้ผลิตสุกรทั่วโลกที่ใช้พันธุกรรมของสุกรสายพันธุ์ Danbred สามารถคาดหวังอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรได้สูงขึ้น เป้าหมายล่าสุดในการพัฒนาสายพันธุ์ Danbred คือการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกร ด้วยเริ่มด้วยสายพันธุ์ Duroc กล่าวคือ ในเดือนมกราคม 2023  อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรในฝูงที่ผลิตในเดนมาร์กคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการรอดชีวิตในลูกสุกรเติบโตขึ้นสูงกว่าปีที่แล้ว 0.8% และคาดว่าในเดือนพฤษภาคมจะมีลูกสุกรที่รอดชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 1% “เราได้เห็นผลลัพธ์ของเป้าหมายการปรับปรุงพันธุ์ใหม่อย่างรวดเร็วในกลุ่มพัฒนาสายพันธุ์สุกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายพันธุ์ Duroc  เนื่องจากการปรับปรุงพันธุ์และประสิทธิภาพการผลิตใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน เราจึงคาดว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรจะเริ่มแสดงให้เห็นในการผลิตในช่วงนี้แล้ว” Tage Ostersen หัวหนาแผนกการปรับปรุงสายพันธุ์ และพันธุศาสตร์ของสภาการเกษตรและอาหารแห่งเดนมาร์กกล่าว การเจาะลึก LP5 ที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ปัจจัยของเป้าหมายของการพัฒนาสายพันธุ์ (Breeding Goal) ที่ส่งผลต่อการรอดชีวิตของลูกหมูที่เพิ่มขึ้น คือ LP5 (จำนวนลูกสุกรที่มีชีวิตรอดที่อายุ  5 วัน) ด้วยการมุ่งหน้าพัฒนา LP5 ทำให้ขนาดครอกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ เจ้าของฟาร์มสามารถลดฝูงแม่พันธุ์ลง แต่ให้ผลผลิตหรือจำนวนลูกหย่านมที่เท่าเดิมได้ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 เราได้ปรับปรุงเป้าหมายในการพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อรวมคุณลักษณะใหม่สำหรับการอยู่รอดของลูกสุกร ทำให้ LP5 ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน โดยทาง […]

2 Nov 2023
เพิ่มลูกมีชีวิตได้ด้วยเทคนิคการให้อาหารแม่สุกรที่ถูกวิธี

การให้อาหารแม่สุกรแบบใหม่ที่ถูกวิธีสามารถช่วยเพิ่มลูกมีชีวิตมากขึ้น 1.7% หรือ 0.4 ตัวต่อครอก การให้อาหารแม่สุกรอุ้มท้องจนถึงหลังคลอดอย่างถูกวิธี ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับผลผลิตของฟาร์มสุกรในปัจจุบัน โดยแม่สุกรควรได้รับพลังงานที่เพียงพอสำหรับกระบวนการคลอดและการฟื้นตัวของแม่สุกรหลังคลอดด้วย ซึ่งจากการทดลองล่าสุดจากสถาบัน Aarhus University และ SEGES innovation พบว่าการให้อาหารแม่สุกร ประมาณ  3.3 – 3.8 กิโลกรัมต่อวันในช่วงย้ายแม่สุกรขึ้นคลอด (อย่างน้อย 3 วันก่อนคลอด) จนถึงคลอด สามารถเพิ่มลูกมีชีวิตได้มากขึ้น 1.7%  ยิ่งกินอาหารได้มากขึ้น ยิ่งทำให้ระยะเวลาการคลอดสั้นลง จากการศึกษาที่ผ่านมา จากสถาบัน Aarhus University และSEGES innovation ที่พบว่าไฟเบอร์จากบีทพัลป์ ในอาหารนั้นสำคัญสำหรับแม่สุกรโดยเฉพาะในกระบวนการคลอด วิธีการให้อาหารแบบใหม่ไม่เพียงแต่จะทำให้อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรมีมากขึ้น แต่ยังลดการช่วยคลอดหรือล้วงคลอด  อีกทั้งช่วยฟื้นตัวหลังคลอดได้ดียิ่งขึ้น   Camilla Kaae Højgaard หัวหน้าที่ปรึกษา SEGES Innovation. กล่าวว่า  “ ณ ตอนนี้พวกเราแนะนำว่าควรให้อาหารแม่สุกร ประมาณ  3.3 – 3.8 กิโลกรัมต่อวัน นับตั้งแต่วันที่ย้ายแม่สุกรเข้าเล้าคลอดจนถึงคลอด […]

2 Nov 2023

We use cookies to optimize and enhance the experience of using the website. You can learn more about the use of cookies at Cookie Policy and can choose to consent to the use of cookies. by clicking cookie settings

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for Necessary Cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Necessary Cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website's operation, i.e. cookies that enable the website to perform basic functions and to allow the website to function normally, such as navigating the website pages. or enable visitors/users of the website to log in and access parts of the website that are reserved for members only. The website will not function properly without these cookies being collected. Therefore, you cannot disable these types of cookies through the system of the Company's website. These cookies do not store information that can personally identify you in any way.

Save