วิธีการที่ดีในการเพิ่มการรอดชีวิตของลูกสุกร เพื่อให้ได้จำนวนลูกหย่าต่อแม่นั้น มีปัจจัยหลักคือแม่สุกรที่เลี้ยงลูกนั้นต้องสุขภาพดี ซึ่งจะต้องให้อาหารที่เหมาะสมและการจัดการที่ถูกต้องตลอดระยะเวลาเลี้ยงลูก ถึงแม้ว่าการปรับเปลี่ยนการจัดการในแม่ที่ให้ลูกดกนั้นจะเห็นผลช้าและไม่ง่ายเลย แต่ถ้าเราจัดการได้ถูกวิธีจะช่วยทำให้ผลผลิตของฝูงดีขึ้นได้แน่นอน

      การช่วยให้ได้ลูกมีชีวิตที่มากขึ้นนั้นเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนคลอด โดยย้ายแม่รอคลอดที่สุขภาพดีให้อยู่ในสภาพอากาศที่เหมาะสม และย้ายให้ถูกเวลาก่อนถึงกำหนดคลอด ซึ่งแม่รอคลอดควรได้รับอาหาร 3.3-4.0 กิโลกรัมต่อวันจนกว่าจะคลอด โดยให้เป็นเวลา อาจ 3 มื้อ หรือมากกว่านั้น และในอาหารควรมีปริมาณไฟเบอร์(แบบละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ) 500-600 กรัมต่อวัน อีกทั้งการมีคนเฝ้าคลอดเพื่อช่วยทำคลอดและดูแลลูกแรกเกิดที่ตัวเล็กนั้น ก็สามารถช่วยเพิ่มการรอดชีวิตของลูกสุกรได้

      ซึ่งระหว่างการคลอด สิ่งสำคัญคือลูกทุกตัวต้องได้รับนมน้ำเหลืองและความอบอุ่น โดยต้องมั่นใจว่าลูกสุกรได้รับนมน้ำเหลืองอย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถทำได้โดยการแบ่งลูกสุกรให้ดูดนมแม่เป็นกลุ่มๆ(Split suckling) หรือย้ายลูกตัวเล็กไปให้แม่ที่มีลูกน้อยแต่ยังมีนมน้ำเหลืองอยู่ อีกทั้งการเกลี่ยจำนวนลูกหรือจัดไซส์ลูกควรทำให้เสร็จภายใน 8 ชั่วโมง และอาจช่วยโดยการเปิดไฟกกในกล่องกกหรือพื้นที่ที่ลูกนอน

      และหลังคลอดที่เป็นแบบแผนและสามารถทำได้จริง

      สาเหตุการตายของลูกสุกรแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ทั่วโลก อย่างเช่นในเดนมาร์ก 3 อันดับสาเหตุที่ทำให้ลูกสุกรอายุ 4 วันแรกตาย เกิดจากโดนแม่ทับ47%  เกิดจากขาดนมหรือพลังงาน 18%  และเกิดจากอ่อนแอตาย 18% ส่วนในลูกอายุ 5 วันจนถึงหย่านม มักตายจากติดเชื้อในกระแสเลือด 31% ลูกป่วย ไม่แข็งแรง 13% และโดนทับ 13%

      ค่าเฉลี่ยจำนวนลูกทั้งหมดของแม่สุกรสายพันธุ์เดนมาร์กในปัจจุบันสูงถึง 19.4 ตัว/แม่ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีก ซึ่งการที่มีจำนวนลูกเยอะขึ้นทำให้พบลูกตัวเล็กที่น้ำหนัก 400-800 กรัม มากขึ้น 1.3% ในปี 2002 จนถึง 10-14% ในปัจจุบัน แต่ในปัจจุบันความสำเร็จในการทำให้มีลูกมีชีวิตที่อายุ 5 วันนั้น ทำให้ลูกที่ตัวเล็กมีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าในอดีต และหากยิ่งใส่ใจหรือปฏิบัติตามการจัดการที่ถูกต้อง จะยิ่งทำให้ลูกสุกรมีโอกาสรอดชีวิตขึ้นอีก

การเปลี่ยนจากลูกตายแรกคลอดเป็นลูกมีชีวิต

      60%ของลูกตายแรกคลอด มักตายในระหว่างการคลอด ซึ่ง 60% ของลูกตายแรกคลอด ซึ่งเทียบได้กับลูก 1.1 ตัวต่อแม่นั้น ยังมีชีวิตอยู่ในตอนที่แม่กำลังเริ่มคลอด ซึ่งหากกระบวนการคลอดของแม่เป็นปกติและได้รับการช่วยเหลือในระหว่างคลอด ก็จะทำให้มีโอกาสได้ลูกมีชีวิตเพิ่มขึ้น

      กระบวนการคลอดที่ปกติของแม่เริ่มต้นจากสุขภาพแม่รอคลอดที่ดีและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยควรมีค่าความหนาไขมันสันหลัง(Back fat) ในขณะคลอดที่ 16-19 มิลลิเมตร และแม่สุกรควรย้ายเข้าเล้าคลอด 5-7 วันก่อนถึงกำหนดคลอด เพื่อลดความเครียด นอกจากนั้นอาจเสริมหญ้าหรือวัสดุอื่น ที่ช่วยเสริมพฤติกรรมการทำรังในช่วงก่อนคลอดเพื่อลดความเครียดระหว่างคลอดได้เช่นกัน

      นอกจากนั้นการให้อาหารก็ส่งผลถึงกระบวนการคลอดของแม่ได้ โดยต้องให้ในปริมาณและสัดส่วนที่ถูกต้อง โดยการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าแม่ที่ได้รับอาหาร 3.3-4.0 กิโลกรัมต่อวัน (ME: 12.9 MJ/kg; 164 g CP/kg) ในช่วงรอคลอด จะทำให้ระยะเวลาระหว่างการคลอดสั้นลง ลูกตายแรกคลอดลดลงและทำให้มีนมน้ำเหลืองมากขึ้น (Feyera et al., 2018) อีกทั้งเวลาในการให้อาหาร เพื่อที่จะคงระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงเพียงพอสำหรับกระบวนการคลอดนั้น ควรให้อย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน โดยแบ่งช่วงเวลาให้เท่าหรือใกล้เคียงกัน เช่น 7.00น. 15.00น. และ 20.00น. ส่วนอาหารที่ให้ก็ควรมีสัดส่วนของไฟเบอร์ที่เหมาะสม เพราะไฟเบอร์สามารถให้พลังงานได้ยาวนานมากกว่าแป้ง จึงแนะนำประมาณ 500-600 กรัมต่อวัน

      ในฟาร์มที่มีการทำงาน 24 ชั่วโมงนั้น มีจำนวนลูกตายแรกคลอดที่ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมีการเฝ้าคลอดหรือช่วยคลอดได้ทุกแม่และช่วยให้ลูกที่อ่อนแอได้รับนมน้ำเหลืองอย่างเพียงพอ อีกทั้งการช่วยเกลี่ยลูกมีชีวิตก็ช่วยทำให้ลูกแต่ละตัวได้รับน้ำนมที่เพียงพอ โดยเฉพาะในคอกที่มีลูกเยอะเกินเต้านมแม่ แต่ในบางฟาร์มที่ไม่สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง อาจจะสลับชั่วโมงทำงานของพนักงานแทน ซึ่งใน SEGES Pig Research Centre ก็กำลังศึกษาโดยการใช้กล้องวีดีโอในการช่วยเฝ้าคลอดเพื่อช่วยลดลูกตายแรกคลอดอยู่ด้วยเช่นกัน

ประเด็นสำคัญ

  1. แม่สุขภาพดี
  2. ความหนาไขมันสันหลังแม่อุ้มท้อง ควรมี 14-15 มิลลิเมตร (ก่อนย้ายเข้าเล้าคลอด)
  3. ย้ายเข้าเล้าคลอด 5-7 วันก่อนถึงกำหนดคลอด
  4. ให้หญ้าหรือวัสดุอื่น ๆเสริมก่อนคลอด
  5. ให้อาหาร 3.3-4.0 กิโลกรัมต่อวัน
  6. ให้อาหาร 3 มื้อต่อวัน (เว้นช่วงเวลาให้เท่ากัน)
  7. อาหารควรมีไฟเบอร์ 500-600 กรัมต่อวัน
  8. มีการเฝ้าคลอดและช่วยคลอดเมื่อจำเป็น

การจัดการลูกสุกรแรกคลอด

      ปริมาณนมน้ำเหลืองและอุณหภูมิเป็นสิ่งสำคัญมากต่อการมีชีวิตรอดของลูกสุกรแรกคลอดจนถึงหย่านม โดยเฉพาะในคอกที่มีจำนวนลูกเยอะต้องมั่นใจว่าลูกตัวเล็กได้รับนมน้ำเหลืองอย่างเพียงพอ เนื่องจากลูกตัวเล็กต้องการพลังงานเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายมากกว่าปกติ เพราะมีสัดส่วนของผิวหนังต่อน้ำหนักตัวมากกว่า

      ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือลูกสุกรทุกตัวต้องได้นมน้ำเหลืองอย่างเพียงพอและได้รับความอบอุ่นตั้งแต่ชั่วโมงแรกหลังคลอด

      ในระหว่างการคลอด ลูกที่อ่อนแอหรือลูกที่เกินเต้านมแม่ ควรได้รับการช่วยเหลือหรือย้ายไปให้แม่ตัวอื่นเพื่อให้ได้นมน้ำเหลืองที่เพียงพอ และหลังจากคลอดเสร็จต้องดูภาพรวมทั้งหมด ทั้งจำนวนลูกมีชีวิตและจำนวนลูกตัวเล็ก เพื่อที่จะพิจารณาการจัดการเพิ่มเติม อีกทั้งจำนวนเต้านมแม่ที่ใช้งานได้ซึ่งควรจะดูและบันทึกตั้งแต่ก่อนคลอด หรือคะแนนการเลี้ยงลูกของคอกก่อนหน้า เพื่อนำมาประเมินการเลี้ยงลูกของแม่นั้น ๆว่าสามารถเลี้ยงได้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งการที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าลูกสุกรได้รับนมน้ำเหลืองเพียงพอคือการแบ่งลูกสุกรให้ดูดนมแม่เป็นกลุ่ม ๆ ตั้งแต่ 8 ชั่วโมงหลังคลอดจนเมื่อลูกสุกรพร้อมย้ายไปยังแม่นม เพื่อจำกัดการเข้าถึงนมแม่ในลูกที่ตัวใหญ่หรือลูกที่เกิดลำดับต้น ๆ โดยจัดครึ่งแรกที่เป็นกลุ่มตัวเล็ก 10-12 ตัว กินนมก่อน 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง จึงค่อยสลับให้กลุ่มตัวใหญ่มากินนมต่อ นอกจากนั้นอาจย้ายลูกตัวเล็กไปให้แม่ที่มีลูกน้อยแต่ยังมีนมน้ำเหลืองอยู่ (หรือแม่ที่คลอดในวันเดียวกัน) โดยหลังจากผ่านไป 8 ชั่วโมง ลูกสุกรที่ตัวใหญ่ก็จะได้รับนมน้ำเหลืองและภูมิคุ้มกันจากแม่อย่างเพียงพอ และสามารถย้ายไปฝากไปยังแม่นมต่อไปได้

      ในลูกสุกรแรกคลอดอุณภูมิร่างกายจะลดลงอย่างรวดเร็วหลังคลอด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเพิ่มอุณหภูมิร่างกายภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด โดยการเสริมความอบอุ่นทำได้หลากหลายวิธี เช่น การเสริมไฟกกในกล่องกกหรือพื้นที่ที่ลูกนอน โดยอาจเสริมไฟกกอีกด้านนึงตรงส่วนด้านหลังแม่(ตามรูป) ซึ่งมีการทดลองโดยการเสริมไฟกก 2 ด้านนี้ ในลูกสุกรจำนวน 569 ตัว ที่น้ำหนักน้อยกว่า 900 กรัม และเปิดไฟกกที่อุณหภูมิ 33-34 องศาเซลเซียส(ที่พื้นใต้ไฟกก) เทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีอุณหภูมิพื้นที่ 20 องศาเซลเซียส พบว่ากลุ่มที่มีไฟกกช่วยเพิ่มสัดส่วนลูกสุกรที่มีอุณหภูมิร่างกายมากกว่า 37 องศาเซลเซียส จาก 36% เป็น 59% และลดสัดส่วนลูกที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส จาก 25% เหลือเพียง 16%

บทความอื่นๆ
การหลีกเลี่ยง Heat Stress ความเครียดจากร้อนของสุกรในช่วงฤดูร้อน

จากสถิติในปี 2022 กว่า 22 ประเทศทั่วโลกมีอุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียสหรือมากกว่านั้น และในปีนี้มีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะเพิ่มสูงกว่าปีที่ผ่านมา อาจส่งผลให้ปัญหา “heat stress” หรือสภาวะความเครียดจากความร้อนของสุกรจะขยายเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน โดยภาวะนี้จะส่งผลกระทบอย่างมากในสุกรมากกว่าสัตว์ประเภทอื่น ๆ เนื่องจากสุกรไม่มีต่อมเหงื่อจึงไม่สามารถระบายความร้อนส่วนเกินออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตลดลง อัตราการป่วยตายสูงขึ้น อัตราการผสมติดต่ำ การกินอาหารได้ของสุกรลดลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการสูญเสียทางเศรษฐกิจในกลุ่มผู้ผลิตสุกรเป็นอย่างมาก ดังนั้นภาวะความเครียดจากความร้อนเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เราสามารถจัดการและลดผลกระทบจากภาวะความเครียดจากความร้อน (heat stress) ในสุกร ได้ดังนี้ เพิ่มการระบายอากาศและใช้ความเร็วลมภายในโรงเรือนอย่างเหมาะสม การสร้างโรงเรือนแบบปิดและใช้ระบบควบคุมอุณหภูมิด้วยการระเหยน้ำ เช่น การทำความเย็นด้วยการระเหยน้ำที่เกิดจากความเร็วลม การเพิ่มไอน้ำและความชื้นในอากาศภายในโรงเรือน อุปกรณ์ในระบบต้องสะอาดและอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อยู่เสมอ และหากเป็นไปได้ควรใช้น้ำเย็นในระบบ อุณหภูมิ อัตราการระบายอากาศ ความเร็วลม ความชื้นสัมพัทธ์ และปัจจัยอื่น ๆ ควรปรับให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ จัดเตรียมน้ำสะอาดและน้ำเย็นในปริมาณที่เพียงพอ น้ำถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับสุกรและน้ำเย็นจะช่วยลดอุณหภูมิภายในร่างกายได้ โดยสุกรควรกินน้ำให้พอเหมาะกับการบริโภคอาหารเพื่อรักษาปริมาณการกินอาหารในช่วงฤดูร้อน การกินน้ำควรเพียงพอกับความต้องการของสุกรแต่ละอายุและวงรอบการผลิต โดยเฉพาะสุกรช่วงก่อนคลอด ช่วงเลี้ยงลูกรวมถึงช่วงสุกรขุน   สัตว์ ปริมาณน้ำที่ต้องการ (ลิตร/วัน) อัตราการไหลของน้ำ (ลิตร/นาที) แม่เลี้ยงลูก 35-50 4 […]

2 Nov 2023
อัตราการรอดชีวิตที่สูงขึ้น ของสุกรสายพันธุ์ Danbred คือทางรอดของกลุ่มผู้ผลิตสายพันธุ์สุกร

ขณะนี้ผู้ผลิตสุกรทั่วโลกที่ใช้พันธุกรรมของสุกรสายพันธุ์ Danbred สามารถคาดหวังอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรได้สูงขึ้น เป้าหมายล่าสุดในการพัฒนาสายพันธุ์ Danbred คือการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกร ด้วยเริ่มด้วยสายพันธุ์ Duroc กล่าวคือ ในเดือนมกราคม 2023  อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรในฝูงที่ผลิตในเดนมาร์กคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการรอดชีวิตในลูกสุกรเติบโตขึ้นสูงกว่าปีที่แล้ว 0.8% และคาดว่าในเดือนพฤษภาคมจะมีลูกสุกรที่รอดชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 1% “เราได้เห็นผลลัพธ์ของเป้าหมายการปรับปรุงพันธุ์ใหม่อย่างรวดเร็วในกลุ่มพัฒนาสายพันธุ์สุกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายพันธุ์ Duroc  เนื่องจากการปรับปรุงพันธุ์และประสิทธิภาพการผลิตใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน เราจึงคาดว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรจะเริ่มแสดงให้เห็นในการผลิตในช่วงนี้แล้ว” Tage Ostersen หัวหนาแผนกการปรับปรุงสายพันธุ์ และพันธุศาสตร์ของสภาการเกษตรและอาหารแห่งเดนมาร์กกล่าว การเจาะลึก LP5 ที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ปัจจัยของเป้าหมายของการพัฒนาสายพันธุ์ (Breeding Goal) ที่ส่งผลต่อการรอดชีวิตของลูกหมูที่เพิ่มขึ้น คือ LP5 (จำนวนลูกสุกรที่มีชีวิตรอดที่อายุ  5 วัน) ด้วยการมุ่งหน้าพัฒนา LP5 ทำให้ขนาดครอกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ เจ้าของฟาร์มสามารถลดฝูงแม่พันธุ์ลง แต่ให้ผลผลิตหรือจำนวนลูกหย่านมที่เท่าเดิมได้ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 เราได้ปรับปรุงเป้าหมายในการพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อรวมคุณลักษณะใหม่สำหรับการอยู่รอดของลูกสุกร ทำให้ LP5 ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน โดยทาง […]

2 Nov 2023
เพิ่มลูกมีชีวิตได้ด้วยเทคนิคการให้อาหารแม่สุกรที่ถูกวิธี

การให้อาหารแม่สุกรแบบใหม่ที่ถูกวิธีสามารถช่วยเพิ่มลูกมีชีวิตมากขึ้น 1.7% หรือ 0.4 ตัวต่อครอก การให้อาหารแม่สุกรอุ้มท้องจนถึงหลังคลอดอย่างถูกวิธี ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับผลผลิตของฟาร์มสุกรในปัจจุบัน โดยแม่สุกรควรได้รับพลังงานที่เพียงพอสำหรับกระบวนการคลอดและการฟื้นตัวของแม่สุกรหลังคลอดด้วย ซึ่งจากการทดลองล่าสุดจากสถาบัน Aarhus University และ SEGES innovation พบว่าการให้อาหารแม่สุกร ประมาณ  3.3 – 3.8 กิโลกรัมต่อวันในช่วงย้ายแม่สุกรขึ้นคลอด (อย่างน้อย 3 วันก่อนคลอด) จนถึงคลอด สามารถเพิ่มลูกมีชีวิตได้มากขึ้น 1.7%  ยิ่งกินอาหารได้มากขึ้น ยิ่งทำให้ระยะเวลาการคลอดสั้นลง จากการศึกษาที่ผ่านมา จากสถาบัน Aarhus University และSEGES innovation ที่พบว่าไฟเบอร์จากบีทพัลป์ ในอาหารนั้นสำคัญสำหรับแม่สุกรโดยเฉพาะในกระบวนการคลอด วิธีการให้อาหารแบบใหม่ไม่เพียงแต่จะทำให้อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรมีมากขึ้น แต่ยังลดการช่วยคลอดหรือล้วงคลอด  อีกทั้งช่วยฟื้นตัวหลังคลอดได้ดียิ่งขึ้น   Camilla Kaae Højgaard หัวหน้าที่ปรึกษา SEGES Innovation. กล่าวว่า  “ ณ ตอนนี้พวกเราแนะนำว่าควรให้อาหารแม่สุกร ประมาณ  3.3 – 3.8 กิโลกรัมต่อวัน นับตั้งแต่วันที่ย้ายแม่สุกรเข้าเล้าคลอดจนถึงคลอด […]

2 Nov 2023

We use cookies to optimize and enhance the experience of using the website. You can learn more about the use of cookies at Cookie Policy and can choose to consent to the use of cookies. by clicking cookie settings

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for Necessary Cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Necessary Cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website's operation, i.e. cookies that enable the website to perform basic functions and to allow the website to function normally, such as navigating the website pages. or enable visitors/users of the website to log in and access parts of the website that are reserved for members only. The website will not function properly without these cookies being collected. Therefore, you cannot disable these types of cookies through the system of the Company's website. These cookies do not store information that can personally identify you in any way.

Save